การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

จิราพร รอดพ่วง
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
สุพิน บุญชูวงศ์

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักศึกษาวิชาชีพครู ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและนำไปทดลองใช้นำร่อง 4) การนำรูปแบบไปทดลองใช้ในโรงเรียนเครือข่ายในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 1 แห่ง ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Volunteer sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับมาก (RAI = 0.75)  แบบประเมินทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ มีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับมาก (RAI = 0.77) และแบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (RAI = 0.91) 5) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้วิธีการของ Friedman Test และ Wilcoxon signed rank test และ 6) การรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 

            ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอน 4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการทำงาน และ 5) การวัดและประเมินผล  สำหรับขั้นตอนของรูปแบบ (3P2R) มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการ (Prepare: P) 2) การวางแผน (Plan: P) 3) การปฏิบัติ (Perform: P) 4) การสังเกตผล (Review: R) และ5) การสะท้อนผล (Reflect: R) และผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบชุมชนแห่ง การเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยการนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาพรวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 หลังใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิผลของรูปแบบที่ได้กำหนดไว้

 

           The objectives of this research were to study and develop the effectiveness of a Professional Learning Community Model to enhance the skills of learning management, systems thinking and creative innovation of student teachers. The study used a Research and Development process, divided into six steps, as follows: 1) Studying, analyzing and synthesizing baseline data. 2) Development of the Model. 3) Monitoring the initial quality of the Professional Learning Community Model after a trial by experts. 4) The pilot use of the Professional Learning Community Model by a single teacher-school network, selected by Volunteer sampling. The data was collected by evaluation form composed of learning management skills evaluation form with a high confidence level among the experts (RAI = 0.75), the skills on the systems thinking evaluation form had a the high confidence level among the experts (RAI = 0.77), and the skills of creative innovation evaluation form had the highest confidence level among the experts (RAI = 0.91). 5) Evaluating the effectiveness of the Model analyzed by Primary Statistics and compared in terms of the difference by using the Friedman Test and Wilcoxon signed rank test. 6) Certify the Professional Learning Community Model with the approval of experts.

 

           The results were as follows: The Professional Learning Community Model to enhance the skills of learning management, systems thinking and creative innovation of student teachers consisted of five major components: 1) Principles 2) Objectives 3) Steps 4) Work flows supporting factors and 5) the measurement and evaluation of the model process (3P2R): 1) Prepare 2) Plan 3) Perform 4) Review, and 5) Reflect. The effectiveness of Professional Learning Community Model to enhance the skills of learning management, systems thinking and creative innovation of student teachers by the trial of the model. The results revealed that the average score for learning management, systems thinking and creative innovation skills, were first, second, third and fourth, overall, after the trial with the Professional Learning Community Model of student teachers increased significantly at  a level of .05 level, which complied with the effectiveness criteria of the model had been defined.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ