การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางเลนวิทยา

Main Article Content

เจษฎา ชวนะไพศาล

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางเลนวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย 3 ประการ คือ 1) เปรียบเทียบความรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัสโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาทักษะสะเต็มศึกษาเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัสโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนบางเลนวิทยา จำนวน 25 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling)  โดยห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบปรนัย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะสะเต็มศึกษาและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะสะเต็มศึกษาเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนจากการประเมินตนเองและครูประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้นักเรียนเห็นว่าปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาความสามารถด้านทักษะสะเต็มศึกษาอันดับแรก คือ เวลาไม่เพียงพอ รองลงมาคือ นักเรียนไม่ตั้งใจฟังครู ไม่ตั้งใจเรียนและเกิดจากความเกียจคร้านของตนเอง 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

            This study focuses on the development of students’ mathematics achievement in Pythagorean Theorem by integrated STEM education in Mathayomsuksa 2 students of Banglane Wittaya School. The objectives of this study are 1) to compare students’ knowledge of Pythagoras's theorem by teaching integrated STEM education with before and after teaching. 2) to investigate STEM education in Pythagorean theorem through the integrated STEM teaching ,and 3) to study the student satisfaction on integrated STEM education. Participants include a number of 25 students by Cluster Sampling in Mathayom 2/3 of Banglane Wittaya School. The observation data are collected through objective test, lesson plan, and evaluation of STEM skills and student satisfaction, which are subsequently scrutinized with statistical analysis, standard deviation, dependent t-test and content analysis. Significantly, the research finding reveals that  1) students who experience integrated STEM education in class have a better understanding in Pythagorean Theorem than prior to having been taught by this method at the statistically significant level of .01 2) students’ STEM skill in Pythagorean theorem evaluated by the students themselves and the teacher is fair. It is believed that this might be a result of some difficulties in STEM skill development including insufficient time, students’ lack of interest and laziness, respectively, and 3) the student satisfaction on integrated STEM education is generally excellent.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ