ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับและการให้การเกื้อหนุนของผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

ชลธิชา อัศวนิรันดร
วิราภรณ์ โพธิศิริ

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกื้อหนุนระหว่างรุ่นที่ไม่เป็นทางการระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรในประเทศไทย โดยศึกษารูปแบบของการรับและการให้ว่าผู้สูงอายุไทยได้รับและให้การเกื้อหนุนประเภทใดบ้างจาก/แก่บุตร และความสัมพันธ์ระหว่างการเกื้อหนุนแต่ละประเภททั้งที่เป็นประเภทเดียวกันและต่างประเภท โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีบุตรที่มีชีวิตอาศัยอยู่นอกครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน มีสถานภาพสมรสที่เคยสมรสแล้ว และเป็นผู้ที่ตอบข้อคำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ครบถ้วน ซึ่งผู้วิจัยใช้แนวคิดการให้อย่างไม่เห็นแก่ตัวหรือการให้แบบที่เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น และแนวคิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่การให้แบบที่เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น เป็นกรอบในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับและการให้การเกื้อหนุนในผู้สูงอายุไทยในครั้งนี้ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกแบบพหุ (Multiple Logistic Regression Analysis) และอธิบายด้วยค่าอัตราส่วนโอกาส (Odds ratio) ที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น

            ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยประมาณ 70 ปีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงครึ่งที่ยังทำงาน มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,00-29,999 บาท และมีเพียงประมาณร้อยละ 7 ที่ได้รับบำนาญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตชนบท มีจำนวนบุตรเฉลี่ยประมาณ 4 คน และเกินครึ่งที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับบุตร นอกจากนี้ประมาณร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันอย่างน้อย 1 กิจกรรม สำหรับประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับและการให้การเกื้อหนุนของผู้สูงอายุ พบว่า กว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างได้รับการเกื้อหนุนจากบุตร และให้การเกื้อหนุนแก่บุตร โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการเกื้อหนุนจากบุตร มีแนวโน้มจะให้การเกื้อหนุนแก่บุตร และในทางเดียวกัน ยิ่งผู้สูงอายุให้การเกื้อหนุนแก่บุตร ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสของการได้รับการความช่วยเหลือจากบุตรเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณารูปแบบของการเกื้อหนุนแต่ละฝ่าย พบได้ว่า ผู้สูงอายุที่ให้การเกื้อหนุนในรูปของเวลาหรือการบริการแก่บุตร จะได้รับเงินหรือสิ่งของจากบุตร ซึ่งหากผู้สูงอายุให้การเกื้อหนุนในรูปตัวเงินแก่บุตร จะได้รับการเกื้อหนุนเป็นการดูแลจากบุตร ซึ่งจากผลการศึกษาสามารถสะท้อนให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ของการได้รับและการให้ของผู้สูงอายุไทยสอดคล้องกับแนวคิดการการให้แบบแลกเปลี่ยนมากที่สุด 

 

           Objective of this paper is to study informal intergenerational support between elderly and their children in Thailand and to uncover what kinds of support Thai elderly provide to and also receive from their children along with relationship among each kind of support. Data were drawn from 2011 Survey of Older Persons in Thailand, which was conducted by Thailand National Statistical Office. Samples in the survey were individuals elderly aged 60 and over who had at least one non-coresident children, had been married and provided valid information relevant to the analysis. Altruism and Non-altruism concepts adopted analyze the motivation behind relationships between receiving and providing support between Thai elderly and children. Due to the nature of dependent variables, multiple logistic regression is used to yield the odds of predicted outcomes.

            The results showed that more than half of respondents were female with average age of 70 years. Less than 50% were still working and earned around 10,000-29,999 Baht yearly. Only 7% received pensions. Mostly respondents completed primary school or higher, lived in rural area and had on average 4 children. The majority was still living with children. About 30% experienced at one functional limitation. For the relationships between receiving and providing support, virtually 90% of elderly both received and provided supports from/to their children. Elderly who received support from children were more likely to provide more support to their children. Likewise, providing support to children was found to increase likelihood of receiving support from children. When considering types of support, it appeared that the elderly who provide time or service to their children were likely to receive money or goods whereas those who provide financial help were likely to receive care assistance from children. The results from this study suggested that intergenerational exchanges between elderly and their children in line with the exchange theory. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ