นวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methodology) โดยขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และการสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการใช้แบบสอบถาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ประเมินนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน3) ยืนยันนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 510 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 100 คนประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน/รองผู้อำนวยการ หรือรักษาการแทนผู้อำนวยการ และครูผู้ที่ปฏิบัติงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ คือค่าความถี่ (f ) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

            1.  นวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ และ 276 ตัวบ่งชี้ย่อย ข้อมูลแสดงลักษณะของนวัตกรรมแสดงความสอดคล้องกับกฎกระทรวงทั้ง 4 มาตรฐาน ได้แก่ 1) มาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา 2) มาตรฐานด้านการบริหารจัดการศึกษา 3) มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน สามารถนำไปใช้ได้จริง

 

               2.  ผลการประเมินนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ()= 4.295 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.685 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือข้อ 7 การออกแบบพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับบริบทและแผนงานของสถานศึกษา ()= 4.87, (S.D.)=.346 อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ข้อ 10 สามารถนำนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นขยายผลไปยังสถานศึกษาที่เป็นเครือข่ายมีค่าเฉลี่ย ()= 4.09, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)= .740

            3. ผลการยืนยันรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องครอบคลุมสอดคล้องกับทฤษฎี หลักการ แนวคิดตามกรอบวิจัย 

 

           This study was conducted by using mixed method research, from quantitative and qualitative method. The purposes of this study were 1) find the management innovative quality basic education. 2) The management innovation quality assurance basic education.3) The confirm management innovation quality assurance of basic education. Including population basic education schools under the Office of Basic Education Commission. In Phetchabun Province in the academic year 2558 of 510. The sample was taken from a multi-stage sampling. The sample of 50 and 100 consisting a number of school director/deputy director or acting director and teachers who perform quality assurance of basic education. The data collected by using document analysis, semi-structured interview, and the questionnaires. The data was analyzed by using frequency (f), mean (), standard deviation (S.D.) and content analysis.

             The research found that

             1.  Management innovation basic quality education created composed of 15 standard 65 indicators and 276 sub-indicators. The data show the nature of innovation in data collection   accordance with the regulations of the four standard 1) standards governing the management of 2) standards governing the management of 3) standards that deal with teaching emphasis the study is important and 4) the standards governing the internal quality assurance.

           2.  The Assessment management innovation basic quality education created the overall level of the average ()= 4.295, and the standard deviation (S.D.) = 0.685. The highest average is the seventh design management innovation quality assurance built in accordance with plans and context of education ()= 4.87, (S.D.) =. 346. The average minimum include ten design to lead management innovation quality assurance, built an extension to the school's network averages ()= 4.09, and standard deviation (SD). = .740

            3.  Results of the verification model innovation management quality basic  education. That is appropriate to have a comprehensive and accurate, consistent with theoretical concepts within the research.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ