องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) ระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 3) องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 508 คน ให้ประชากรทั้งหมดเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจาณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการวางแผน ด้านมีความคาดหวังต่อนักเรียนในระดับสูง ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านภาวะผู้นำ ด้านบรรยากาศองค์กร ด้านการพัฒนาครู ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง ตามลำดับ
2. การปฏิบัติงานตามสมรรถนะครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สมรรถนะหลัก พิจารณาเป็นรายด้าน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการพัฒนาตนเอง
ส่วนสมรรถนะประจำสายงานพิจารณาเป็นรายด้าน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามลำดับ
3. องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะครูในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (X8) ด้านความคาดหวังต่อนักเรียนในระดับสูง (X7) ด้านบรรยากาศองค์กร (X1) ด้านการพัฒนาครู (X5) และด้านการวางแผน (X4) โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 70.10 สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยดังนี้ tot = 1.001 + 0.246(X8)+ 0.258(X7) + 0.150(X1) + 0.068(X5) + 0.074(X4)
The purposes of this research were to study; 1) administrative factors of schools under Special Education Bureau, 2) work performance according to competency of teachers in schools under Special Education Bureau, and 3) factors of school administration affecting work performance according to competency of teachers in schools in central and eastern groups under Special Education Bureau. The 508 research population consisted of school administrators and teachers in schools in central and eastern groups under Special Education Bureau, select a specific population of respondents. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
The research results were as follows:
1. The factors of school administration were at a high level both in overall and in each aspect. When the aspects of factors were individually considered, planning was the aspect with the highest mean, and the others could ranked in descending order of their means as follows: high expectation on students, educational quality assurance, leadership, organizational atmosphere, teacher development, participation, and strenuous learning and teaching.
2. The work performance according to teacher competency was at a high level both in overall and in each aspect. The first three core competencies with the highest means were integrity, teamwork, and expertise, whereas the first three functional competencies with the highest means were, ranked in descending order of their means, student development, curriculum administration and learning management, and class management.
3. The factors of school administration affecting work performance according to competency of teachers in schools under Special Education Bureau consisted of educational quality assurance (X8), high expectation on students (X7), organizational atmosphere (X1), teacher development (X5), and planning (X4), with predictive efficiency at 70.10%, which could be formulated into regression equation as follows:tot = 1.001 + 0.246(X8) + 0.258(X7) + 0.150(X1) + 0.068(X5) + 0.074(X4).