ความพร้อมของศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหน่วยงานบริการวิชาการด้านส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

Main Article Content

สาคร ชินวงค์
สิรีรัตน์ เชษฐสุมน
สุภาภรณ์ สงค์ประชา

Abstract

          ความพร้อมของหน่วยงานบริการวิชาการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อประเมินความพร้อมของศูนย์ส่งเสริมฯ ในการบริการวิชาการด้านส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในสภาวการณ์ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณบนฐานคิดองค์กรที่เป็นเลิศ 6 องค์ประกอบ จากการสังเคราะห์แนวคิดของ บุญธรรม จิตต์อนันต์ (2540) ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี (2551) และสำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2558) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้รับบริการซึ่งได้เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 114 คน ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับบริการและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามความคิดเห็นของผู้ให้บริการกลุ่มประชากร 71 คน ด้วยแบบสอบถามความพร้อมของผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความสอดคล้องด้วยแผนผังใยแมงมุม (Spider Diagram)
          ผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการมีความคาดหวังในระดับมากที่สุดส่วนผู้ให้บริการมีความพร้อมในระดับมากทุกองค์ประกอบ ศูนย์ส่งเสริมฯ มีความพร้อมในการให้บริการวิชาการด้านส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในระดับหนึ่ง แต่สามารถพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นเลิศให้มีความพร้อมตามความต้องการของผู้รับบริการได้อีก โดยมีความสอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับความพร้อมจากน้อยที่สุดไปมากที่สุดและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาตามลำดับ คือ 1) ระบบและวิธีการในการบริการวิชาการ 2) โครงสร้าง ยุทธศาสตร์และการบริหารองค์กร 3) องค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา 4) บุคลากรเพื่อการให้บริการวิชาการ 5) ความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาสู่อนาคตขององค์กร และ 6) การกำหนดเป้าหมายขององค์กรบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาศูนย์ส่งเสริมฯ ให้มีความพร้อมในการให้บริการวิชาการด้านส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในระดับชาติและนานาชาติสู่องค์กรที่เป็นเลิศในอนาคต

 

          The readiness of an academic service agency is crucially important to provide academic services to the community and the society. This research assesses the current readiness of NAETC in providing academic services in the field of agricultural extension and development. It is following up and reconfirming the ideas and findings of Boontham Jitanan (1997), Chaiset Bhramasri (2008) and that of KU Quality Assurance (2015) in 6 aspects of an excellent organization. Using descriptive approach, views and opinions of 114 representatives of client groups and 71 NAETC academic service providers were purposively collected. The data collected were statistically analysed using frequencies, percentages, arithmetic means and standard deviations. Content analysis was used for spider diagram.

          The findings revealed that the clients had very high expectations, and the service providers had high readiness in all aspects indicating that NAETC was ready for providing agricultural extension and development services to a great extent, still there were rooms for improvement of its services to meet the clients’ expectations, in terms of, 1) systems and procedures in providing academic services, 2) organization structure and management,3) knowledge of agricultural technology and innovation, 4) academic service provider personnel, 5) confidence for change in development for the organization future, and 6) determining goals of an academic service organization, respectively. Improvement to all entioned earlier lead to NAETC development for an excellent organization in agricultural extension and development at national and international levels.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ