ประสิทธิผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ธิดาวรรณ ไชยมณี
ชไมพร ดิสถาพร
วัฒนีย์ โรจน์สัมฤทธิ์
ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง แนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง (The Pretest Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปี 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ จำนวน 62 คน แบ่งโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 31 คน กลุ่มควบคุมเรียนด้วยการสอนปกติจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (pair t-test และ Independent t-test)

              ผลการวิจัย 1) คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลังเรียนสูงกว่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยที่เรียนด้วยการสอนปกติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาพยาบาลมีระดับความพึงพอใจบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แนวปฏิบัติการป้องกัน การติดเชื้อในโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  ̅x = 4.17)

           สรุปผล บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองที่มีประสิทธิผล ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้

 

           The purposes of this research were to determine the effectiveness of the internet-based CAI on practice guidelines for preventing nosocomial infection.

              Research methods: The sample group for determining the effectiveness of the internet-based CAI simulation on practice guidelines for preventing nosocomial infection was composed of nursing students Faculty of Graduate Nursing Science, Boromarajonani College of Nursing, Nopparat Vajira. This sample group was divided into two groups by Purposive sampling, namely, the experimental group that studied internet-based CAI simulation and a control group that studied regular lessons only. The research instrumentation included the following: 1) a questionnaire for grading learning capacity on practice guidelines for preventing nosocomial infection; 2) a nursing practice skills evaluation scale on practice guidelines for preventing nosocomial infection and 3) a satisfaction questionnaire about the internet-based CAI simulation. The data was analyzed by determining percentage, mean, standard deviation, pair t-test and Independent t-test. 

               Results: The research findings can be summarized as follows:

               The findings on the effectiveness of the internet-based CAI simulation were as follows:

            1) The nursing students who studied internet-based CAI simulation were found to be higher than the pre-test score with statistical significance at .05

               2) The nursing students who studied internet-based CAI simulation were found to students who studied with the internet-based CAI simulation on practice guidelines for preventing nosocomial infection was found to be higher than the mean score of the students who studied only as usual with statistical significance at .05 (p<.05) 

               3) The nursing students had a high level of satisfaction concerning the internet-based CAI simulation on practice guidelines for preventing nosocomial infection. (  = 4.17)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ