ธรรมชาติมนุษย์กับมุมมองเชิงพื้นที่

Main Article Content

นราธร สายเส็ง (Retract)

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงมโนทัศน์ของพื้นที่-ถิ่นที่ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับธรรมชาติของมนุษย์ อันเกิดจากข้อคำถามพื้นฐานที่ว่ามนุษย์สามารถทำความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ได้ทุกอย่างแต่เหตุใดมนุษย์จึงไม่สามารถทำความเข้าใจต่อพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ได้อย่างถ่องแท้? จากความต้องการหาคำตอบต่อข้อคำถามดังกล่าว จึงได้หันกลับมาตรวจสอบ/ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงพื้นฐานวิธีคิด พฤติกรรม และการแสดงออกของมนุษย์ ผ่านแนวคิดภูมิศาสตร์มนุษยนิยมการผลิตสร้างความหมายของพื้นที่ (production of space)  ของ Henri Lefebvre อันเกิดจากความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ 3 แบบ คือ 1) พื้นที่ทางกายภาพ (physical space)2) พื้นที่ทางความคิด (mental space) และ 3) พื้นที่ทางสังคม (social space) ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ปรากฏออกมาใน 3 ลักษณะ คือ 1) การสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ (representations of space) เกิดจากการใช้ระบบสัญลักษณ์ เพื่อเป็นกลไกในการทำให้สังคมเกิดความเชื่อ หรือมีความคิดต่อสิ่งนั้นไปในรูปแบบที่ต้องการ   2) ปฏิบัติการทางพื้นที่ (spatial practices) เกิดจากการที่มนุษย์มีการผสมผสานสังคมเข้ากับพื้นที่ที่อยู่อาศัยจริง (lived space) ผ่านการรับรู้ หรือถูกครอบงำจากการสร้างภูมิทัศน์ และ 3) พื้นที่ของความเป็นตัวแทน (representational space) เกิดจากการแปลงรูปพื้นที่ในการดำรงชีวิตผ่านระบบสัญลักษณ์ พื้นที่ของความเป็นตัวแทนนี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างแท้จริง การทำความเข้าใจธรรมชาติมนุษย์จึงดำเนินอยู่ภายใต้บริบทของเวลาในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ที่เป็นตัวกำหนดการรับรู้ และการแสดงออกของมนุษย์


 


          This article aims at analyzing the concept of space – place in relation to human nature, which is brought forth from the fundamental question of why human beings fail to understand the space where they themselves occupy, given that they are able to understand everything else.  In an attempt to answer such a question, I turn to examine / try to make out, the bases of the human thinking methods, behaviors, and expressions, through the humanistic geographical approach to the production of space as theorized by Henri Lefebvre, which postulates that there are three spatial relations: (1) Physical space; (2) Mental space; and (3) Social space. The three interact in three different ways: (1) Representations of space, which involves the use of symbolism as a mechanism to bring about what societies believe or think about something in the ways they want; (2) Spatial practices, which are brought about by human beings integrating socially into the lived space through perception of, or the domination by landscape; and (3) Representational space, which is brought about by the spatial transformation of living through symbolism. This representational space reflects the true living and livelihood of human beings. The understanding of human nature is therefore determined by the temporal context in the form of spatial relations, which in turn determines human perceptions and social expressions.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ