การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยี การเรียนรู้ แขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้แขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษหลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2555คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ แขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณาจารย์ที่สอนในสาขาวิชา จำนวน 5 คน มหาบัณฑิต และนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 44 คน ผู้บังคับบัญชามหาบัณฑิต จำนวน 4 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านบริบท ประกอบด้วย โครงสร้างหลักสูตร วัตถุประสงค์หลักสูตร และเนื้อหาหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วยคุณลักษณะและคุณภาพผู้สอน และทรัพยากรในการดำเนินการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมากตามลำดับ
3) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยการบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4) ด้านผลผลิต ประกอบด้วยคุณลักษณะของบัณฑิต และคุณภาพของบัณฑิต มีความเหมาะสมในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ
5) แนวทางการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ แขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษ พบว่าควรให้ความสำคัญกับด้านทรัพยากรดำเนินการ และเพิ่มกระบวนวิชาสัมมนาวิทยานิพนธ์เพื่อติดตามและเร่งรัดการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
The purposes of this research were 1) to evaluate the Master of Education Program in Curriculum, Teaching, and Learning Technology (Teaching English) Revised Version 2012, Faculty of Education, Chiang Mai University, 2) to develop the curriculum to meet the quality and efficiency of the current situation. The data providers included 5 teaching staff, 44 graduates and current Master’s students, and 4 graduates’ employers. The instruments for data collection were questionnaires, the interview questions, and focus group records.The data were analyzed by mean, standard deviation, and content analysis.
The research results were as follows:
1) Context, which was comprised of structure, objectives, and content of the curriculum, was rated appropriate at the highest level.
2) Input, which was comprised of characteristics and quality of the teaching staff, and the resources, was rated appropriate at the highest level and at the high level, respectively.
3) Process, which was comprised of curriculum administration, learning and teaching management, evaluation, and thesis advisors, was rated appropriate at the highest level.
4) Product, which was comprised of graduates’ characteristics and graduate quality, was rated appropriate at the high level and the highest level, respectively.
5) Guidelines on developing curriculum should put more emphasis on resources, and create thesis seminar courses in order to follow, support and encourage students to complete their thesis in good time.