การพัฒนารูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

Main Article Content

โอภาส หรสิทธิ์
บำรุง โตรัตน์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75  2) ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 3) ศึกษาความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมที่พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมก่อนเรียนและหลังเรียน 4)แบบทดสอบประจำบทเรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – testfor dependent samples)ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมมีค่าเท่ากับ 76.61/73.51 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 แต่มีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.014) ความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยอิงเนื้อหาคุณธรรม จริยธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับดีมาก

 

          The purposes of this research were: 1) to develop and find an efficiency of a content-based instructional model based on ethics issues to enhance reading ability and ethics awareness of the first years Business English students at Muban Chombueng Rajabhat University in accordance with efficiency criteria 75/75; 2) to study the students’ English reading  ability before and after the experiment; 3) to study students’ ethics awareness before and after the experiment; and  4) to study students’ opinions toward a content-based instructional model based on ethics issues after the experiment. The samples of this research were 24 first year Business English students at Muban Chombueng Rajabhat University who enrolled in an English for communication course in the second semester of academic year 2015. The students were selected based on a purposive sampling technique.The research instruments were: 1) content – based instructional model based on ethics issues, 2) a pretest and posttest on English reading,3) a pretest and posttest on ethics awareness 4),unit tests, and 5) a questionnaire on opinions toward the content – based instructional model. The data were analyzed by percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.), and t-test for dependent samples.The results of this research were as follows:1) The efficiency of a content – based instructional model based on ethics issues to enhance English reading ability and ethics awareness was 76.61/73.51,which the summative test scores were lower than the set criteria 75/75 but it was acceptable. 2) Students’ English reading ability after the experiment was significantly higher than before the experiment at the 0.01 level. 3) Student’s ethics awareness after the experiment was significantly higher than before the experiment at the 0.01 level, and 4) Students’ opinions toward content – based instructional model based on ethics issues was at a very good level.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ