การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนว ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นิรนาท แสนสา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแนะแนวอาชีพก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี  และ 4) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี

             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี ครูแนะแนวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 และเขต 2 ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความต้องการชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี จำนวน 92 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามความต้องการชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี (2) ชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี (3) แบบทดสอบความสามารถในการแนะแนวอาชีพ และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูแนะแนวที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมทางไกลโดยใช้ E1/E2  และการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูแนะแนวมีความต้องการชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรีในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการเนื้อหาสำหรับพัฒนาชุดฝึกอบรมประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพ ความสำคัญของการแนะแนวอาชีพที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวอาชีพ และแนวทางและตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอาชีพให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา (2) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ คือ 82.14/81.43, 81.33/80.95 และ 81.11/80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (3) ครูแนะแนวที่ฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการแนะแนวอาชีพสำหรับครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี มีความสามารถในการแนะแนวอาชีพหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความเห็นว่าชุดฝึกอบรมทางไกลมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ