แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด

Main Article Content

นิรันดร์ เชี่ยวชาญชัยกุล
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความต้องการของผู้บริหารผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการในโรงพยาบาลระดับจังหวัดเกี่ยวกับแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด (2) สร้างแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด และ (3) นำเสนอแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด

             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ผู้บริหารของโรงพยาบาลระดับจังหวัด โดยเป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 96 คน (2)  ผู้ปฏิบัติงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลระดับจังหวัด 96 แห่ง โดยการสุ่มแบบเจาะจง แห่งละ 5 คน จำนวน 480 คน (3) ผู้รับบริการในโรงพยาบาลระดับจังหวัด  96 แห่ง โดยการสุ่มแบบบังเอิญแห่งละ 10 คน จำนวน 960 คน (4) ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลระดับจังหวัด   แห่งละ 1 คน จำนวน 4 คน (5) ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แห่งละ 5 คน จำนวน 20 คน (6) ผู้รับบริการในตึกผู้ป่วยนอก โดยการสุ่มแบบบังเอิญแห่งละ 5 คน จำนวน 40 คน และ(7) ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 4 คน ด้านสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน และด้านศูนย์การเรียนรู้สุขภาพ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่(1) แบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด สำหรับของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ (2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัดสำหรับของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ (3) ต้นแบบชิ้นงาน คือ แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการในโรงพยาบาลระดับจังหวัดมีความต้องการศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัดในระดับมาก(2)ผลการพัฒนาและนำเสนอแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลระดับจังหวัดตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการในโรงพยาบาลระดับจังหวัด พบว่ามีองค์ประกอบ ได้แก่ มีโครงสร้างและอัตรากำลังประจำ จำนวน 3-5 คนและมีคณะกรรมการดำเนินการในรูปแบบสหวิชาชีพ  โดยแบ่งเป็น 3 คณะ  คือ คณะกรรมการบริหาร  คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการดำเนินงาน การจัดสถานที่ เป็นอาคารชั้นเดียวใกล้ตึกผู้ป่วยนอกโดยมีการจัดพื้นที่ที่มีห้องแยกที่เป็นสัดส่วนชัดเจนมีห้องสำหรับรองรับการจัดกิจกรรมและมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับจัดกิจกรรมส่วนรวมพร้อมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายนอกศูนย์การเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาพ  สำหรับการจัดกิจกรรมให้บริการศูนย์การเรียนรู้ประกอบด้วยให้บริการความรู้/ฝึกอบรมด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้คำแนะนำปรึกษาทางวิชาการให้บริการยืม/คืน/ค้นเอกสารสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้บริการยืม/คืนสื่อสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

 

           The objectives of this research were (1) to survey of director officer and client in provincial hospital about a health learning center model of chronic non-communicable disease for provincial hospital. (2) to create a health learning center model of chronic non-communicable disease for provincial hospital. (3) to propose a health learning center model of chronic non-communicable disease for provincial hospital.

           The samples of this research are (1) A group of 96 director in provincial hospital (2) A group of 480 chronic non-communicable Disease officer in provincial hospital each of 5 people in 96 place by purposive sampling method (3) A group of 960 Client in provincial hospital each of 10 people in 96 place by accidental sampling method  (4) A group of 4 director or deputy director in provincial hospital each of 1 person in province (5) A group of  20 directly responsible chronic non-communicable disease officer each of 5 people (6) A group of 40 Client in outpatient department each of 5 people by accidental sampling method (7) Expert of education technology 4 people and communication health education health behavior 4 people and expert of health learning center 4 people .

            The tools used consisted of (1) The needs and opinion questionnaire about health learning Center for provincial hospital of director officer and client. (2) Interview and needs about health learning center for provincial hospital of director officer and client. (4) Health learning center Model of chronic non-communicable disease for provincial hospital The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation.

            The results showed that. (1) Director officer and client in provincial hospital they requirement in health learning center model of chronic non-communicable disease were in the high level (2) The development and propose of health learning center model according to the recommendation of director officer and client. It was found that have structured and staff 3-5 people and multi disciplinary board. They suggestion to divideorganization structure into 3 group that is administrative ,technical and customer service. Building and facilities management was a single-storey building and space is divided proportionally. There is room for event and center area for public activity included environmental management in outdoors for health learning and health promotion that include educate and training in non-communicable Disease, advice and counseling service, document circulation in non-communicable disease, media circulation in non-communicable disease, and active learning promotion.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ