การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

นิวัฒน์ บุญสม
คุณัตว์ พิธพรชัยกุล
วรรณวิสา บุญมาก
ธิติ ญาณปรีชาเศรษฐ
อัยรัสต์ แกสมาน
นรินทรา จันทศร

Abstract

           การวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา และศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยมีผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ที่เรียกว่า CIPPI Model ซึ่งแบ่งมิติการประเมินออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ บริบท (Context: C) ปัจจัยนำเข้า (Input: I) กระบวนการ (Process: P) ผลผลิต (Product: P) และผลกระทบ (Impact: I) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน (Mixed Method Evaluation) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

            1. การประเมินด้านบริบทของหลักสูตร ข้อมูลเชิงปริมาณตามความคิดเห็นของนักศึกษา และบัณฑิต พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ และมีความสามารถเป็นผู้นำทางการออกกำลังกายและกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ และมีความสามารถเป็นผู้นำทางการออกกำลังกายและกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า หลักการของหลักสูตรมีความสมบูรณ์และเหมาะสม มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ เป็นผู้ปฏิบัติตามกฏระเบียบและมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และมีความสามารถเป็นผู้นำทางการออกกำลังกายและกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถเป็นผู้นำการฝึกโยคะ ผู้ตัดสินกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย

 

               2.  การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร ข้อมูลเชิงปริมาณตามความคิดเห็นของนักศึกษาและบัณฑิต พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ คุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยของอาจารย์มีศักยภาพ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ มีคุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยของอาจารย์มีศักยภาพ อาจารย์มีความแม่นยำในการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี อาจารย์แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่หลากหลาย อาจารย์มีความรู้ความสามารถสอนวิชาการ คุณธรรม จริยธรรมและสอนการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถให้คำแนะนำและชี้แนวทางให้นักศึกษาได้

            3.  การประเมินด้านกระบวนการของหลักสูตร ข้อมูลเชิงปริมาณตามความคิดเห็นของนักศึกษาและบัณฑิต พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งภายในและภายนอกองค์กรค่อนข้างหลากหลาย มีการเตรียมความพร้อมก่อนจะไปฝึกงานจริง ได้เรียนรู้ลำดับงานจากหน่วยงานภายใน ทำให้มีความพร้อมและสามารถไปปรับใช้ได้ และมีการไปศึกษาดูงานองค์กรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย

             4.  การประเมินด้านผลผลิตของหลักสูตร ข้อมูลเชิงปริมาณตามความคิดเห็นของนักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า นักศึกษาเป็นผู้มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น รักษาระเบียบวินัยของตัวเองและองค์กร และปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี เต็มความสามารถอย่างถูกต้องและปลอดภัย

             5. การประเมินด้านผลกระทบของหลักสูตร ข้อมูลเชิงปริมาณตามความคิดเห็นของนักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หน่วยงานของท่านได้รับประโยชน์จากการทำงานของบัณฑิต และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพตามความคิดเห็นของนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า นักศึกษามีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นอย่างมาก สามารถช่วยทีมกีฬาของหน่วยงานเพิ่มศักยภาพสูงขึ้น

 

          The curriculum evaluation on Bachelor of Science Program in Sport Science, Faculty of Education, Silpakorn University. This research aimed to evaluate the curriculum of the bachelor of science program in sport science and study guideline for curriculum improvement, and development. The samples of this research were students, graduates, employers, instructors, administrators, and experts. The method was used in this research based on CIPPi model of Stufflebeam which were classified in 5 dimensions; 1) Context: C; 2) input: I; 3) Process: P; 4) Product: P; and 5) Impact: I. The mixed method evaluation was used during the data collection both quantitative data collection and qualitative data collection. The quantitative data were analyzed by using percentage, frequency, mean, and standard deviation and the qualitative data were analyzed by content analysis.

            The results of the research were as follow:-

            1.  The context of the curriculum the quantitative data as students and graduates opinions showed that overall of the context were appropriate in high level. When considering each item, the curriculum aimed to produce graduates with professional ethics and moral and were capable leadership in effective exercise item had the highest mean score. Which is cougruent with the quanlitative data as students, employers, instructors, administrators, and experts opinions. Moreover, there were some related opinions that the principle of the curriculum were complete and appropriate, and aimed to produce graduates with professional ethics and moral, compliance with rules and regulations, honest with their duties, and were capable leadership in effective exercise such as yoga, sport referee, sport trainer, and exercise trainer.

             2.  The input factors of the curriculum the quantitative data as students and graduates opinions showed that overall of the input were qualified in high level. When considering each item, the items that had the highest mean score were qualifications, knowledge, experiences, academic works, and research papers of the instructors. Which is cougruent with the quanlitative data as students, employers, instructors, administrators, and experts opinions. Furthermore, there were some supportive opinions that the instructors and the academic advisors were potential and qualified for providing preside and accurate knowledge to students. The instructors had different knowledge and various abilities to teach students. The instructors were competent to teach and advise the students both academic and ethics as well as life skills.

              3. The process of the curriculum the quantitative data as students and graduates opinions revealed that overall were qualified in high level. When considering each item, process of professional practicum (internship) item had the highest mean score. There were some supportive opinion that the process of the professional practicum (internship) contained both internal and external institution experiences in various settings. Which is cougruent with the quanlitative data as students, employers, instructors, administrators, and experts opinions. Moreover, the students were prepared about workflow within the institution until they were ready and able to adapt before going out for the real settings. They also had field studies in various organizations both on campus and off campus.

               4.  The product of the curriculum the quantitative data as students, graduates, and employers opinions found that the overall were qualified in the highest level. When considering each item, the moral and ethics item had the highest mean score. Which is cougruent with the quanlitative data as students, employers, instructors, and experts opinions. There were some supportive opinions that the student were generous, volunteer to help others, self-discipline, comply with rules and regulations of organizations, and perform their duties well, correctly and safely with all of their abilities.

               5. The impact of the curriculum the quantitative data as students, graduates, and employers opinions found that the overall were qualified in high level. When considering each item, the agencies received the benefit from graduates work had the highest mean score. Which is cougruent with the quanlitative data as students, employers, instructors, administrators, and experts opinions. There were supportive opinions that students had high ability of sport science, they were able to help the sport team of the agencies to gain more potential.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ