การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดสวัสดิการของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

ปองหทัย พึ่งนุ่ม
นพพร จันทรนำชู

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดสวัสดิการของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สำหรับประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการจัดสวัสดิการ ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดสวัสดิการ ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สำหรับประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการจำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่  ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น  (Modified Priority Index :PNImodified) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย

           ผลการวิจัย พบว่า

 

             1) ระดับการจัดสวัสดิการของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของ โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านความมั่นคงและโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ รองลงมาคือ ด้านระบบสัญญา ด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านความยุติธรรม ด้านระบบค่าตอบแทน ตามลำดับ ยกเว้น ด้านการรักษาพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง

             2) ผลการวิเคราะห์ระดับสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และ ค่าดัชนีระดับความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่า สวัสดิการด้านที่มีระดับความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล รองลงมาได้แก่ ด้านสิทธิประโยชน์ ด้านผลตอบแทน และด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ตามลำดับ

 

          This research was an assessment of the a need analysis to the Employees Welfare Associations In The Public High Education in Thailand. The purposes of this research were 1)To study about of levels welfare Associations In The Public High Education. 2) To assess the need to the Employees Welfare Associations in Thailand. For data gathering, 400 academic staffs working for The Public High Education in Thailand were randomly sampled. A questionnaire was conducted with data analyzed .The data, with applications of priority needs index (PNI), were systematically analyzed by frequency distribution, percentage, and mean. The findings of the study were as follows :

          1)  In terms of the levels welfare Associations in the Public High Education, it was stated that the levels welfare Associations in the Public High Education were all averaged at a high level in terms of their security and progressive opportunity in career, additional contract systems, qualities of working life, justice as well as compensation systems  exceptional  healthcare at a moderate level

          2)  In terms of the analysis results of the level realistic and  expected conditions and also Priority Needs Indexes to the Employees  Welfare  Associations , it was stated that the levels welfare  Associations  of  their  need were all averaged at a highest level in terms  of  their  healthcare , privileges, compensations and qualities of working life

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ