การพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินภายนอก

Main Article Content

ปิยะวัฒน์ ตันตราจิณ
วราภรณ์ ไทยมา
วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังต่อแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินภายนอก 2) พัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินภายนอก ผู้วิจัยสังเคราะห์แนวทางการบริหารจากเอกสารทางการ ทฤษฎีการประเมินที่มุ่งการใช้ประโยชน์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามประเภท Dual - Response Survey เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 600 คน เพื่อประเมินความจำเป็นโดยการเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังต่อแนวทางการบริหารที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารก่อนการประเมินภายนอกจำนวน 18 แนวทาง เป็นความจำเป็นระดับสูง 2 แนวทาง ความจำเป็นระดับปานกลาง 10 แนวทาง ความจำเป็นระดับต่ำ 6 แนวทาง แนวทางการบริหารระหว่างการประเมินภายนอกจำนวน 21 แนวทาง เป็นความจำเป็นระดับสูง 7 แนวทาง ความจำเป็นระดับปานกลาง 11 แนวทาง ความจำเป็นระดับต่ำ 3 แนวทาง แนวทางการบริหารหลังการประเมินภายนอกจำนวน 30 แนวทาง เป็นความจำเป็นระดับสูง 16 แนวทาง ความจำเป็นระดับปานกลาง 10 แนวทาง ความจำเป็นระดับต่ำ 4 แนวทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณถูกใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินภายนอกและด้านการบริหารการศึกษาจำนวน 8 คนร่วมคัดเลือก ปรับปรุง และให้คำแนะนำต่อแนวทางการบริหารที่จำเป็น สุดท้าย ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการบริหารงานจำนวน 8 แนวทางหลัก พร้อมแนวทางย่อยอีก 35 แนวทาง แนวทางการบริหารก่อนการประเมินประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) จำลองสถานการณ์ช่วงระหว่างการประเมินและภายหลังการประเมิน 2) ยกตัวอย่างโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้ประโยชน์ แนวทางการบริหารระหว่างการประเมินประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้บุคลากรคิดแบบผู้ประเมินและสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร 2) ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมิน 3) พัฒนาโครงการต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการนำผลการประเมินไปใช้ แนวทางการบริหารหลังการประเมินประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์และการนำเสนอผลการประเมิน 2) จัดทำแผนงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้พัฒนาโรงเรียน 3) จัดการประเมินผลการดำเนินการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์

 

           This research aims to 1) study the existing and the expected conditions of private school management in Bangkok to enhance the utilization of the external assessment results and 2) develop management guidelines for private schools in Bangkok to enhance the utilization of the external assessment results. The initial management guidelines are developed from authoritative documents, utilization-focused evaluation concept, and relevant researches. Quantitative research was designed then was applied by distributing 600 dual-response survey questionnaires to a sample group which consisted of school administrators and teachers of private schools in Bangkok. The need analysis, the difference between the existing and the preferred condition, showed that 1) the 18 pre-assessment guidelines consisted of two highly-needed guidelines, ten moderately-needed guidelines and six low-needed guidelines; 2) the 21 mid-assessment guidelines consisted of seven highly-needed guidelines, 11 moderately needed-guidelines and three low-needed guidelines; 3) the 30 post-assessment guidelines consisted of 16 highly-needed guidelines, 10 moderately-needed guidelines and four low-needed guidelines. Then a focus group was conducted; eight experts specialized in the external assessment and school management discussed about the needed guidelines in order to select, adjust, and give advice to the development of the management guidelines. Finally, the eight key management guidelines were introduced, together with 35 sub-guidelines. The two key pre-assessment guidelines were 1) simulating the mid and post-assessment situations and 2) benchmarking with the best practice school. The three key mid-assessment guidelines were to 1) incorporate an evaluator-mind into the organizational culture, 2) encourage all personnel to be part of the assessment and 3) develop the following programs or activities leading to the utilization. The three key post-assessment guidelines were to 1) pay attention to the analysis of the assessment results and presentation, 2) develop the following action plan that encourages the utilization and 3) introduce the utilization assessment as part of the post-assessment routine.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ