การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 - 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1–2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 186 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง พิจารณาเป็นรายด้านเมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยจาก 3 อันดับแรก พบว่าด้านที่มีปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รองลงมาได้แก่ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผล ประเมินผล 2) การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1-2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็กเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
The objectives of this research were 1) to study the problem of academic affairs administration in school under PranakornSriayudhaya Educational Primary Service Area Office 1-2. 2) to compare the problem of academic affairs administration in school under PranakornSriayudhaya Educational Primary Service Area Office 1-2 classified by school size. The sample was 186 Administrators in Primary Schools under PranakormSriayudhays Educational Primary Service Area Office 1-2. The instrument was the questionnaire with five-level scale including;the problem of academic affairs administration in school under PranakornSriayudhaya Educational Primary Service Area Office 1-2 which the reliability is 0.98. The statistics used for data analysis were frequency (f) percentage (%) mean () standard deviation (S.D.) and One way ANOVA and post hoc test by Scheffe’ methods.
The results showed that 1) The problem of academic affairs administration schools under PranakornSriayudhaya Educational Primary Service Area Office 1-2 as whole was at a medium level. Considering in each dimension, the first three highest mean were on educational innovation, communication and technology, on instructional activities, and on measurement and evaluation. 2) The comparison the problem of academic affairs administration school under PranakornSriayudhaya Educational Primary Service Area Office 1-2 classified by school size as whole found that significantly differences at .01 level all dimensions. The means of large schools was lower than the medium and small schools.