กลยุทธ์การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองขานาง จำกัด อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พนัชกร สิมะขจรบุญ
ณัชชา คงจีระ
บงกชกร พูลผล

Abstract

            การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบกลยุทธ์การดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองขานาง  จังหวัดเพชรบุรี  ซึ่งเป็นสหกรณ์ฯที่มีผลการดำเนินงานที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ผู้วิจัยได้ประยุกต์กรอบแนวคิดการวิจัยจากแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เริ่มจากการผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีส่วนร่วมในการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบกลยุทธ์การดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้จัดการและพนักงาน รวม 11 คน ตรวจความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า และใช้แบบสอบถามจำนวน 372 ตัวอย่าง ที่สร้างขึ้นตามผลการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อยืนยันผลสัมฤทธิ์ด้านความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียนฯ ประกอบด้วย กลยุทธ์ 7 ด้าน คือ การบริหารจัดการ การตลาด การบริหารงานบุคคล การเงิน  เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริการ และการพัฒนาชุมชน กลยุทธ์ทั้ง 7 ด้าน ได้รับการยืนยันความพึงพอใจจากสมาชิกที่มีต่อกลยุทธ์การดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย ( ̅x) = 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.325 ที่มาของกลยุทธ์ทั้ง 7 ด้าน เกิดจากการคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของสมาชิกซึ่งยึดหลัก 5 ม. ได้แก่ มิติ มาตรฐาน มั่นคง มั่งมี และ มั่งคั่ง ส่วนปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินงานได้แก่ ความล้าสมัยและไม่ทันต่อสถานการณ์ของ พรบ.ที่ควบคุมการเติบโตของสหกรณ์ฯ และการตีความใน พรบ.ของข้าราชการสหกรณ์ฯ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ทางสหกรณ์ฯควรจัดทำวิสัยทัศน์ระยะ 10 ปีขึ้น ไม่ควรเปลี่ยน ทุก 3 ปี และควรบรรจุแผนความเสี่ยงไว้ในแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์พลิกผัน

 

          The objective of this research was to study the functional strategies’ factors, problems and threats of Credit Union Nongkanang Limited, Phetchaburi Provinced. That is ranking on top 10 of Credit Union in Thailand. In carrying out of this investigation, the researcher applies a conceptual framework derived from various concept of strategic management at functional level. The methodological approach adopted by the researcher blends qualitative and quantitative research methods. First, the research instrument utilized by researcher to investigate the factors of functional strategy, problem and threat to operates, by with in-depth interview of 1 manager and 10 officers. Follow by with questionnaire to investigate the member satisfaction from each functional strategy. Data were obtained from 372 sampling of Credit Union Nongkanang’s member.

          The data collected from qualitative method were subsequently transcript, categorized according to the concepts and content, compare the similarities and differences, and descriptive detail of the studied. The researcher validated the data by triangulation technic. For the quantitative analyzed using the standard statistics technique. The studied found that the functional strategies of this Credit Union was composed of 7 strategies as managements strategies, marketing strategies, human resource management strategies, financial strategies, technology strategies, service strategies, and community development strategies. Each strategy was confirmed about member satisfaction at maximum,  ̅x = 4.89 and S.D. = 0.325.

           In addition, analysis reveal that the foundations of all strategy were derived from concept of taking into account the legitimate interests of its members with 5’S as Satisfaction by take care to member at all dimension, standardization of administrative, stability organization, serve rich, and sustainable wealth. The problem and threats to operated were the out of date of its Act and Act’s interpretation from administration of government officer. The suggestion from researcher; 1) Credit Union should not change its vision every 3 years, but more than 10 years, 2) Should have a risk management plan for its operation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ