การใช้LINEของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา

Main Article Content

วิศปัตย์ ชัยช่วย

Abstract

         การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์การใช้โปรแกรมประยุกต์ “LINE”ของผู้สูงอายุเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 รายนำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำและวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุเรียนรู้การใช้งาน LINE ด้วยตนเองและจากการแนะนำของเพื่อนหรือลูกหลาน(2) LINE ทำให้เกิดพื้นที่เสมือน (Virtual space) ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือญาติได้ โดย ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ (3) LINE กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (4) ผู้สูงอายุแสดงความห่วงใยต่อผู้อื่นและแสดงนัยยะว่าตนเองยังสุขสบายดีผ่านทางภาพ "สวัสดีตอนเช้า" (5) ผู้สูงอายุเห็นว่า LINE มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้ ICT ในผู้สูงอายุ และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นแนวทางการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

         This phenomenological study aimed to describe and explain elderly people’s experience in using LINE (application). Data were derived by in-depth interview and non-participant observation from 15 informants. All interviews were transcribed verbatim and analyzed by using content analysis. Findings revealed that (1) elderly people learned the usage of LINE by themselves and some advices from friends and relatives. (2) LINE created a Virtual Space, caused the elderly people can interacting with friends and relatives without the limitation of times and places. (3) LINE became a part of elderly people’s daily life. (4) Elderly peoples shown their anxiety to others and implication their well-being via “Good Morning” photos. (5) Elderly people thought that LINE is advantages and useful. The findings can be used as a guideline for encourage the usage of ICT in elderly people, and can be used for the development of mobile application that suitable for elderly people, and as a basis for further related research.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ