ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิชญา แก้วสระแสน
ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างคือ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติที่ใช้ในการหาค่าความสัมพันธ์คือ สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

             ผลการวิจัย พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 29 – 39 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพสมรส / อยู่ด้วยกัน มีตำแหน่งงานระดับ Staff รายได้อยู่ในช่วง 25,001 – 35,000 บาท และมีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ปัจจัยในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ความเครียดในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยด้านการวางแผนและพัฒนาอาชีพ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศขององค์การ ปัจจัยด้านนโยบายในการบริหารงาน ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน ปัจจัยด้านผลตอบแทน มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานโดยรวมของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในทิศทางตรงกันข้าม ในระดับต่ำ

           ปัจจัยในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยด้านบทบาทภายในองค์กร ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ภายในองค์กร ปัจจัยด้านการวางแผนและพัฒนาอาชีพ ปัจจัยด้านโครงสร้างและบรรยากาศขององค์การ ปัจจัยด้านนโยบายในการบริหารงาน ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงาน ปัจจัยด้านผลตอบแทน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในระดับปานกลางและ ต่ำความเครียดในการทำงาน ด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านปริมาณงาน และด้านเวลา ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ในระดับต่ำ

 

           The purpose of this research was to study the relationships between work-related factors, stress and performance efficiency of real estate company employees in Bangkok. The samples of this research were collected from four hundred employees of real estate companies in Bangkok. The instrument used for data collection was a questionnaire. The statistical procedures for data analysis included frequency, mean and standard deviation, as well as an independent sample, One-Way Analysis of Variance, and the Pearson Product Moment Correlation was used for testing correlations.

           The results of the research revealed that the majority of employees were male, aged between 29-39 years old, with an average educational level of a Bachelor’s degree, their marital status was married or living with a partner, their job position level was at the staff level, they had more than 10 years of experience and an average monthly salary of between THB 25,001-35,000. The overall work related factors were at highest level, while overall stress was at a low level and overall performance efficiency was at high level.

           The results of testing the hypotheses reveals that the work factors in terms of the intrinsic work factor, the career development factor, the organizational structure and climatic factors, the management policy factor, the home-work interface factor and the benefits factor correlated with the stress of real estate company employees in Bangkok at a statistically significant level of 0.01, in the opposite direction and at a relatively low level.

           The work factors in terms of the intrinsic job factor, the role of the organizational factor, the relationship with the organizational factor, the career development factor, the organizational structure and climatic factors, the management policy factor, the home-work interface factor and the benefits factor correlated with the performance efficiency of a real estate company employees in Bangkok at a statistically significant level of 0.01 in the same direction at a relatively moderate and a low level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ