พระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 5: จิตรกรรมฝาผนังวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
Main Article Content
Abstract
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เขียนขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยแนวความคิดที่เด่นชัดในจิตรกรรมเป็นเรื่องการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านทางเนื้อหาเรื่องราวในจิตรกรรม คือภาพการทอดพระเนตรสุริยุปราคา และภาพพระราชพิธีสิบสองเดือน แนวความคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับประวัติความเป็นมาของวัด กล่าวคือวัดราชประดิษฐ์เป็นพระอารามที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด และได้ยังรับการอุปถัมภ์ต่อมาโดยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทำนุบำรุงวัดแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงพระราชบิดาด้วย จิตรกรรมที่วัดราชประดิษฐ์จึงสะท้อนพระราชประสงค์ดังกล่าวของรัชกาลที่ 5 และยังเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการด้านงานจิตรกรรมฝาผนังในรัชกาลของพระองค์ได้เป็นอย่างดีด้วย
The mural paintings in the main assembly hall of Wat Ratchapradit Sathitmahasimaram were painted in the late 19th century AD. They depict the scene of King Mongkut observing a solar eclipse and the royal ceremonies over 12 months. One distinctive notability of the paintings is King Rama V’s idea of glorifying King Mongkut, through these paintings’ contents. This concept is amplified by the historical background of the temple itself: Wat Ratchapradit was King Rama IV’s favorite monastery, thus was patronized by King Rama V as a memorial to him. Besides, these murals are also the significant evidence of the great change and development of Thai mural painting during the reign of King Rama V.