การพัฒนาเครื่องมือประเมินการเรียนรู้และพัฒนาทักษะครูด้านการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Main Article Content

มีชัย เอี่ยมจินดา
พัชรินทร์ รอดสิน

Abstract

          การวิจัยเรื่องการพัฒนาครูภาษาไทยด้านการสร้างและพัฒนาข้อสอบเพื่อประเมินการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะครูด้านการประเมินเพื่อการเรียนรู้ ให้สามารถสร้างและพัฒนาข้อสอบที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  และ 2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูสังกัดในเขตพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ใน  การวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะครูด้านการประเมินเพื่อการเรียนรู้ แบบประเมินตนเองของครูเกี่ยวกับความสามารถในการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดหลักสูตร และแบบประเมินคุณภาพข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ The One Group Pretest-Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

          1) ผลการพัฒนาความสามารถครูด้านการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถครูด้านการประเมิน มีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมเพิ่มขึ้น 16.43 คิดเป็นร้อยละ 41.11 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเข้ารับการอบรม เท่ากับ 18.30 และหลังได้รับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 33.26 ผลจากการทดสอบค่าที พบว่า ความสามารถครูด้านการประเมิน ก่อนและหลังได้รับการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินตนเองของครูเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

          2) ผลการพัฒนาข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากข้อสอบที่กลุ่มตัวอย่างสร้างและพัฒนาขึ้นมีทั้งสิ้น 6 ฉบับ เป็นข้อสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ข้อสอบทุกฉบับมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีจำนวนข้อฉบับละ 40 ข้อ โดยข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง  การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3  พฤติกรรมที่วัดมี 4 ด้าน ส่วนข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พฤติกรรมที่วัด มี 6 ด้าน 

 

          The purposes of this study were to 1) develop Primary Teachers’ Learning assessment  skill in relation to critical Thinking skill,  2) develop Grade 1- Grade 6 achievement tests in Thai  language subject according to the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 for Elementary School, Samples in this study were 8 Primary Schools in Western Region using purposive random which included 349 teachers.  The research methodology used in this study was R&D. The data analysis in the study was mean () Standard Derivation (S.D), t-test dependent and Content Analysis.

          The Result of the study shows that;

          1.  Teachers’ Ability on Learning and teaching assessment shows that teachers’ Ability on Learning and teaching assessment were ranked at level 4 which means high level of ability. Teachers’ ability on Learning assessment skill is higher at 41.11% after the Program when comparing to 16.43%  before  the program which is significant at  .01

           2.  Grade 1 – Grade 6  achievement Tests developed are qualified to assess Students’ learning related to Basic Education Core Curriculum B.F. 2551. which link to Bloom’s Taxonomy framework which are 4 aspects for Grade 1-3 tests and 6 aspects for Grade 1-6.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ