การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหา มาตรฐานการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ตามแบบทดสอบโอเน็ตวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์ ด้านดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางนา จำนวน 513 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) แบบทดสอบมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น จำนวน 70 ข้อ เป็นแบบทดสอบที่มีมาตรฐาน คือ สอดคล้องกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และสอดคล้องสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามแบบทดสอบโอเน็ต
2) แบบทดสอบมาตรฐานวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น จำนวน 70 ข้อ มีคุณภาพ ดังนี้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 จำนวน 65 ข้อ นำมาปรับเป็นแบบทดสอบฉบับที่ 1 จำนวน 60 ข้อ เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 โรงเรียน และฉบับที่ 2 จำนวน 40 ข้อ เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 โรงเรียนทดลองครั้งที่ 1 โดยใช้แบบทดสอบฉบับที่ 1 จำนวน 60 ข้อ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 โรงเรียนพบว่า มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23-0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27-0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.84 จำนวน 40 ข้อ นำมาปรับเป็นแบบทดสอบฉบับที่ 2 จำนวน 40 ข้อ เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 โรงเรียน
ทดลองครั้งที่ 2 โดยใช้แบบทดสอบฉบับที่ 2 จำนวน 40 ข้อ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 โรงเรียน พบว่ามีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.28-0.67 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ มีค่า 0.90
ทดลองใช้ครั้งที่ 3 โดยใช้แบบทดสอบฉบับที่ 2 จำนวน 40 ข้อ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 โรงเรียนพบว่า มีค่ายากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22-0.72 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24-0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.87
The objective of this research are. (1) a standardized mathematics test developed by designed to cover the contents of the mathematics learning strand for the Prathom Sueksa Six level such that it meets indicator requirements and satisfies the standards required for the Ordinary National Educational Test (O-NET) for mathematics. Furthermore, the researcher establishes (2) the quality of the aforementioned test in the aspects of internal congruence, discriminatory power, difficulty, and reliability.
The sample population consisted of 513 Prathom Sueksa Six students under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration in Bang Na district.
Findings are as follows:
(1) The standardized test of 70 items constructed by the researcher satisfied appropriate standards. Its contents were determined to be internally congruent. By reference to the requirements of the Core Basic Education Curriculum, B. E. 2551 (2008) for the mathematics learning strand for the level in question, indicators were satisfied and standards met. The test was also determined to be in consonance with the contents, learning standards, and indicators of the O-NET test.
(2) The quality of the standardized test of 70 items was shown after the following fashion:
The index of congruence (IOC) was determined to fall between 0.67- 1.00 =65 items This means and adapt for testing issue 1 for 60 .
The first experimental test was based on the mathematics standardized academic achievement test with 60 items. Incongruent items were removed from the test and so 60 items remained. Subsequently it was found that difficulty ranged between 0.23 and 0.77, discriminatory power ranged between 0.27 and 0.77, and the reliability of the whole test was couched at 0.84 with 40 items. The second experimental test was the same test of 40 items given after the incongruent items were removed in the first experiment. However, those items that did not satisfy set standards for discriminatory power and difficulty were eliminated. The result was a test of 40 items with difficulty ranging between 0.28 and 0.67, discriminatory power ranging between 0.20 and 0.78, and the reliability of the whole test couched at 0.90.
A third experiment was conducted on the test of 40 items from the second test as the object of experimentation for the first time. The items which failed to show discriminatory power and difficulty meeting the set standards were improved. Accordingly, it was found that the difficulty of the items now ranged between 0.22 and 0.72, discriminatory power ranged between 0.24 and 0.70, and the reliability of the whole test was couched at 0.87.