การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่

Main Article Content

วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์
ภัทรานิษฐ์ จองแก

Abstract

           การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร และเพื่อนำผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาไปเป็นแนวทางวางกลยุทธ์ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาและพัฒนาปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่ โดยการเก็บข้อมูลจากอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จำนวน ๕๕ คน ใช้แบบสอบถามร่วมกับการศึกษาเอกสารวิเคราะห์องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ๒๕๕๖ สถิติที่ใช้วิเคราะห์แบบสอบถามคือ การแจกแจง ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้องใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับดี (µ = ๓.๙๔) โดยด้านการควบคุมคุณภาพภายใน ด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับดีทุกด้านเช่นกัน (µ = ๓.๙๔, ๔.๐๐ และ ๓.๙๘ ตามลำดับ) พบปัจจัยสนับสนุนที่ควรพิจารณาประกอบการวางกลยุทธ์ส่งเสริมบุคลากรและองค์กรเพื่อสู่เป้าหมายการประกันคุณภาพศึกษาในระดับดีมากยิ่งขึ้น ดังนี้ ปัจจัยภายใน ได้แก่ วิทยาลัยเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในด้านการผลิตบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อรองรับระบบสุขภาพชุมชน มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญมีงบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐานอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ และวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเพียงพอ  ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีความเจริญ  มีเครือข่ายทางวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนแหล่งฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้มีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรด้านต่าง ๆ จากองค์กรภายนอกเป็นการลดต้นทุน ผลจากวิเคราะห์ข้อมูลองค์กรของวิทยาลัยฯ ร่วมกับผลการวิจัยครั้งนี้ถูกนำมาพิจารณาวางกลยุทธ์เชิงรับ คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของบุคลากรเพื่อพัฒนาให้การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการควบคุมคุณภาพภายใน ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา และด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาให้อยู่ในระดับดีมากทุกด้านและกลยุทธ์เชิงรุก คือ พัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อการแข่งขันในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมุ่งเน้นการศึกษาความต้องการของสถานบริการด้านสุขภาพ แหล่งรองรับการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษา และรองรับบุคลากรเข้าทำงานทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองปัจจัยด้านผู้รับบริการและความคาดหวังให้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งประโยชน์จากผลการวิจัยนี้หากนำกลยุทธ์ทั้งเชิงรับและเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกกระบวนการไปปรับใช้อย่างจริงจัง คาดว่าจะส่งผลให้การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯประสบความสำเร็จตาม

 

            This descriptive research aimed to study the operational participation of personnel in the internal quality assurance (IQA) performance in academic year 2012 and to set the strategies for mobilizing problem solution and IQA system development in Nursing College. A set of questionnaires were used to collect data with 55 nursing lecturers of Boromarajonani College of Nursing, Chiang Mai during February to April 2013 including related reports/documents used for analysing organizational contexts.  Descriptive statistics; frequency, percentage, mean, and standard deviation were used to analyze data from questionnaires and content analysis was used for related documents.

                The result of the study showed that the overall aspects of operational participation of personnel in IQA performance was at a good level (µ = 3.94). The aspects of internal quality control, educational quality auditing, and educational quality assessment were also found at a high level (µ= 3.94, 4.00 and 3.98; respectively).The Internal factors thatsupport operations include: Nursing College is recognized in terms of;  production nursing personnel to support community health system,  provision instructors who have expertise,  allocation budget and infrastructure such as; building, various labs and adequate educational equipment supplies. The external support factors include the growth in its location in the growth city, various academic networks, as well as sources of training of students from an external organization for sharing resources to reduce costs. The analyzed data used to set the reactive strategies to leverage the quality assurance to be at a very good level Includes as; Nursing College should engage personnel to develop and enhance the results of quality assurance and quality control in the field of quality assessment and monitoring academic quality in all aspects to reach the highest level. In addition, proactive strategies to develop competencies of organization to compete in the era of the ASEAN economic community should be included the study of the needs of health service organizations for practicing of nursing students and supporting personnel works both within and outside the Ministry of public health in the country and overseas to response to service expectations that cover in all aspects.

           The advantage of using proactive and reactive strategies seriously emphasized on personnel participation in all processes as acknowledged from this research are expected to develop educational quality assurance to reach the expectations in all aspects in further.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ