พฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย 2) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย และ 3) พฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2556 จำนวน 106 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยพฤติกรรมการบริหาร และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคาระห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิธี Stepwise regression
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย เมื่อพิจาณาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ แบบพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลง แบบพฤติกรรมทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และแบบพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ ตามลำดับ 2) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาศ จังหวัดเชียงราย เมื่อพิจารณาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ และ3) พฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย คือ พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ (X1) พฤติกรรมทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (X3) และพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลง (X2) ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวม () อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.541 มีประสิทธิภาพการทำนาย ร้อยละ 29.2 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย 0.33 ซึ่งสามารถเขียนเป็น สมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้
= 2.011 + 0.973 X1 – 1.407 X3 + 0.927 X2
This research was aimed to study 1) the administrative behavior of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province , 2) the vision of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province, and 3) the administrative behavior affecting vision of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province. The sample size 106 people that consisted ofadministrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province. The instrument was used the questionnaire with five-level scale included the level of administrative behavior and vision of administrators which the reliability is 0.98. The statistics used in data analysis were percentage (%) mean () standard deviation (S.D.) and multiple regressions of Stepwise regression method.
The results showed that 1) the administrative behavior of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province, as a whole and an individval, were at high level. In order mean from maximum to minimum were as fellows; behavior of change management, behavior of human relations, and behavior of leadership academic respectively, 2) the vision of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province, as a whole and an individval, were at high level. In order mean from maximum to minimum were as fellows; implementation of vision, dissemination of vision, and building of vision respectively and 3) the administrative behavior affecting vision of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province were behavior of leadership academic (X1), behavior of human relations (X3), and behavior of change management (X2). All factors have affected vision of administrators the opportunity expansion school Chiang Rai Province in overall (). Its statistical significance was at .05 level. The correlation coefficient is equal to 0.541. Effectiveness in the prediction was 29.2 percent and the standard deviation of the prediction was 0.33. Which can be written as the following equation regression analysis.
= 2.011 + 0.973 X1 – 1.407 X3 + 0.927 X2