การศึกษาความต้องการและช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.)ศึกษาระดับความต้องการและช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร 2.)เปรียบเทียบความต้องการข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามเพศ ระดับชั้น แผนการเรียนและผลการเรียน 3.)เปรียบเทียบช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามเพศ ระดับชั้น แผนการเรียนและผลการเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 195 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified  Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัย พบว่า

           1. นักเรียนมีความต้องการข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

              2. นักเรียนมีความต้องการช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมา

           3. ผลการเปรียบเทียบความต้องการข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับชั้น แผนการเรียนและผลการเรียน พบว่า นักเรียนหญิงมีความต้องการข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสูงกว่านักเรียนชาย ส่วนนักเรียนที่มีระดับชั้น แผนการเรียน และผลการเรียนต่างกันมีความต้องการข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาไม่แตกต่างกัน

 

              4. ผลการเปรียบเทียบช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับชั้น แผนการเรียนและผลการเรียน พบว่า นักเรียนที่มีเพศ และระดับชั้นต่างกันมีช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักเรียนที่มีแผนการเรียนต่างกันมีช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเรียนต่างกันมีช่องทางการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

           The purposes of this research were 1.) to study level desire and recognition of  Information Technology for studying  in Higher Education of Senior Secondary students in Demonstration School of Silpakorn University. 2.) to compare as of desire Information Technology for studying  in Higher Education of Senior Secondary for students classified by gender, level of education, programme and school-record. 3.) to compare as of recognition of Information Technology for studying  in Higher Education of Senior Secondary for students classified by gender, level of education, programme and school-record. Samples were 195 students derived for studying in Higher Education of Senior Secondary students in Demonstration School of Silpakorn University in 2016 by stratified random sampling technique. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, t-test  Independent, One-way ANOVA.

          The results found that :

            1. Desire of Information Technology for studying in Higher Education were at high level.

            2. Recognition of Information Technology for studying in Higher Education were at high level.

            3. To compare as of desire Information Technology for studying in Higher Education as classified by gender, level of education, programme and school-record. To compare as of desire Information Technology for studying  in Higher Education as classified by gender with statistical significance at .01. To compare as of desire Information Technology for studying in Higher Education as classified by level of education, programme and school-record were not statistical significance.

            4. To compare as of recognition Information Technology for studying  in Higher Education as classified by gender, level of education, programme and school-record. To compare as of recognition Information Technology for studying  in Higher Education as classified by gender and level of education were not statistical significance. To compare as of recognition Information Technology for studying in Higher Education as classified by programme with statistical significance at .05. To compare as of recognition Information Technology for studying in Higher Education as classified by school-record with statistical significance at .01.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ