ผลของการปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริงที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ต้องขัง เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ศรนารายณ์ ชูชื่น
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเป็นรายบุคคล ตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริงที่มีต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี

              กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง จำนวน 5 คน มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสมัครใจ เข้าร่วมในการทดลอง  ผู้วิจัยดำเนินการกับกลุ่มทดลองโดยใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีปรึกษาแบบเผชิญความจริง ใช้เวลาการให้การปรึกษา คนละ 8 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริง และแบบสอบถามพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบเครื่องหมาย และการทดสอบเครื่องหมายเชิงอันดับของวิลคอกซัน

           ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับการปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริง มีระดับพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นภายหลังการได้รับการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

 

           The purpose of this research was to study the effects of individual counseling based on the reality counseling theory on quit smoking behavior of prisoners at Bang Kwang Central Prison in Nonthaburi province.

           The research sample consisted of five purposively selected prisoners at Bang Kwang Central Prison, aged 31 – 40 years, who had smoking behavior and volunteered to participate in the experiment. The researcher treated them with individual counseling based on the reality counseling theory.  Each subject received  individual counseling  for eight periods, each of which lasted for one hour, for the total duration of eight weeks. The employed research instrument was a questionnaire on quit smoking behavior with alpha reliability coefficient of .96.  Statistical procedures for data analysis were the sign test and Wilcoxon Matched Pairs Signed Rank-Test.

           The research findings showed that the prisoners who had received individual counseling based on the reality counseling theory increased their quit smoking behavior significantly at the .05 level of statistical significance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ