ประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ 3) เพื่อระบุปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ พนักงานวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย คุณภาพระบบ คุณภาพข้อมูล และคุณภาพบริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ และการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องปัญหาในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีจำนวนไม่พอเพียงสำหรับการให้บริการแก้ปัญหาระบบสารสนเทศ
The objectives of this research were 1) the level of effectiveness of information system service of Rajamangala University of Technology Rattanakosin 2) factors affecting effectiveness of information system service of Rajamangala University of Technology Rattanakosin and 3) problems and obstacles of information system service of Rajamangala University of Technology Rattanakosin.
There were 232 participants in this study including government officials, university staff and employees of Rajamangala University of Technology Salaya. This research used 5 rating scale questionnaires as research instruments. The statistics for analysis were descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis.
The finding revealed that 1) the effectiveness of information system service of Rajamangala University of Technology Rattanakosin in term of users satisfaction 3 aspects --system quality, data quality and services quality-- were found to be moderate level, 2) services quality factors and acceptance of electronic service factors were related to the effectiveness of information system service of Rajamangala University of Technology Rattanakosin with a significant level at .01 and 3) the effectiveness of information system service problem were internet connecting is not stable, computers do not have anit-virus software and insufficient service personals.