ข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการศึกษารูปแบบขวานหินขัดที่พบในประเทศไทย

Main Article Content

ศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล

Abstract

          การศึกษารูปแบบขวานหินขัดที่ผ่านมา ไม่มีเกณฑ์การศึกษาที่ตายตัวว่าลักษณะแบบใดจึงเรียกว่ารูปแบบสามเหลี่ยมหรือรูปแบบใดเรียกว่าสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นต้น การศึกษารูปแบบขวานหินขัดโดยทั่วไปมักใช้สายตาของผู้ศึกษาเป็นตัวกำหนด แต่ลักษณะของขวานหินขัดบางชิ้นมีความใกล้เคียงหรือมีความก้ำกึ่งระหว่างรูปทรงทั้งสองแบบ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดจำแนก ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะจัดให้อยู่ในรูปแบบใด ซึ่งกรณีดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับตัวผู้เขียนเช่นกัน

             ประเด็นดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและสร้างความสับสนในการจัดแยกประเภทและรูปทรง โดยเฉพาะการศึกษาที่มีจำนวนตัวอย่างในการศึกษาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับผู้ศึกษาแต่ละคนมีการศึกษารูปแบบขวานหินขัดคนละพื้นที่ ซึ่งต่างมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลแต่ละแหล่งมาศึกษาเปรียบเทียบ ทำให้ข้อมูลและการตีความเกิดความคลาดเคลื่อน เนื่องจากไม่มีเกณฑ์การศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

             ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องการเสนอเกณฑ์การจำแนกรูปทรงของขวานหินขัด โดยใช้หลักเรขาคณิต เพื่อให้เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งผู้ที่สนใจศึกษาด้านนี้สามารถนำเกณฑ์ไปใช้ศึกษาในงานของตนเองได้ เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานการศึกษาเดียวกัน เป็นการสร้างฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ง่ายต่อการนำไปวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบต่อไปในอนาคต

 

          The typological study of polished stone adzes in the past weren’t specified by any criterion, for example, whether which type is triangle or which type is trapezoid. Casual study of types of polished stone adzes relies on observation of one who studies. However, some polished stone adzes are hard to be classified whether their shapes are triangle or trapezoid. The writer of this research as well used to experience this problem.

             The lack of a criterion causes confusion of classifying types and shapes of polished stone adzes, especially in the case which has many examples and various sites to study which need comparison. This problem causes processes of data collecting and interpreting to deviate since there is no any criterion to classify polished stone adzes.

             Thus, the writer would like to propose a criterion to classify the shapes of polished stone adzes by using geometry and in turn form a standard in the next study which will develop the more effective data base in the future.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ