ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย
สวรรยา ธรรมอภิพล

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และแรงจูงใจของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุดอนแฝก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแฝก คณะกรรมการบริหารชมรมฯ และสมาชิกชมรมฯ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนแฝก และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหมู่บ้านดอนแฝก รวม 16 คน ทำการตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา

             ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานของชมรมฯ เป็นไปตาม POSDCoRB ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก 1) การวางแผนกิจกรรมโดยจัดประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือน 2) การจัดหน่วยงานโดยกำหนดโครงสร้างหน่วยงานและการกำหนดหน้าที่อย่างชัดเจน 6 หน่วยงาน ได้แก่ รพ.สต.ดอนแฝก อบต.ดอนแฝก อาสาสมัคร ชมรมผู้สูงอายุ ฝ่ายปกครอง และตำรวจชุมชน 3) การจัดบุคลากรตามจำนวนที่เหมาะสม 4) การอำนวยการโดยการสั่งการและประสานงานไปยังฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วง 5) การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก 6) การรายงานผลการปฏิบัติงานทางวาจาเป็นประจำทุกเดือน และ 7) การสนับสนุนงบประมาณ ทั้งจากอบต.และจากภายในชมรมฯ สำหรับความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุดอนแฝก มาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านผู้นำชมรม มีภาวะความเป็นผู้นำมีจรรยาบรรณ มีจิตอาสา ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ เล็งเห็นผลประโยชน์ของผู้สูงอายุเป็นหลัก 2) ด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง  โดยการหาแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ภายในชมรมได้ตลอดมา 3) ด้านความสามารถในการประสานงานกับภาคี โดยร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคสังคม 4) การดำเนินงานตามข้อบังคับ สำหรับแรงจูงใจในการเข้าร่วมชมรมฯ มาจากปัจจัยภายใน 4 ปัจจัย ได้แก่ ความสนใจ ความต้องการ ความชอบและความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และแรงจูงใจจากปัจจัยภายนอก 4 ปัจจัย ได้แก่ การบริการ ตรวจสุขภาพ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการ การสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค และการยอมรับทางสังคม

 

             This study aimed to determine operational success factors of Don Faeg Elderly Club and motivation of the elderly to participate in Don Faeg Elderly Club. The data was collected by participatory observation and in-depth interviews with executives and officials in Don Faeg Sub-district Administration Organization, the board of directors, club members, staffs of Don Faeg Tambon Health Promoting Hospital and volunteer staffs of Don Faeg Village in a total of sixteen people. The data was checked its completeness and accuracy by triangulation method as well as analyzed, concluded and presented in a form of description.

             The study results indicated that the operations of the club consisted of these descending seven steps: 1) planning activities by holding monthly meeting with the board of directors 2) organizing arranging six agencies with clear organizational structures and responsibilities, including Don Faeg Sub-District Hospital, Don Faeg Sub-district Administration Organization, volunteers, elderly club, administration and community police 3) staffing arranging an appropriate number of people 4) directing and coordinating to various parties for completeness of the operations 5) coordinating between internal and external departments   6) reporting verbal performance on a monthly basis and 7) budgeting Receiving budgets from both Sub-district Administration Organization and the elderly club. The operational success factors of Don Faeg Elderly Club derived from four factors as follows: 1) a club leader who had leadership, ethic, volunteer spirit, worked with a sacrifice and focused on benefits of the elderly mainly 2) self-reliance by finding a funding source to support activities of the club at all times 3) effective coordination with partners by collaborating between government agencies, local agencies and social sectors 4) implementation following regulations. The motivation to participate the elderly club derived from four factors including interest, needs, preferences and sense of self-esteem. The motivation from four external factors were including health check service, activities that meeted the needs, consumer goods sponsorship and social acceptance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ