การพัฒนาการ์ดเกมมวยไทยเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย

Main Article Content

สุชาติ แสนพิช
พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์
พิสิษฐ์ ณัฎประเสริ

Abstract

         การพัฒนาการ์ดเกมมวยไทยเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์และออกแบบการ์ดเกมมวยไทยเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของการ์ดเกมมวยไทยที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ ประชากรคือ นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสันติวัน จังหวัดนนทบุรี ในปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีจับสลาก เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยคือ การ์ดเกมมวยไทย (แม่ไม่มวยไทย 15 ท่า และลูกไม้มวยไทย 15 ท่า) และแบบประเมินประสิทธิภาพการใช้การ์ดเกมมวยไทยในการออกกำลังกาย สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การแจกแจงความถี่  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (One-sample test for the mean) โดยเทียบกับเกณฑ์จำนวนการ์ดที่ทำได้ที่ร้อยละ 70 ของจำนวนการ์ดทั้งหมด

           ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์การ์ดเกมพบปัจจัยที่สำคัญคือ ขนาดของการ์ดเกม องค์ประกอบทางกายภาพภายในการ์ดเกมทั่วไป การกำหนดเป้าหมายของการเล่นการ์ดเกม มีระบบการให้คะแนน กฏกติกาและวิธีการเล่นไม่ยากหรือซับซ้อน การปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น การให้ผลป้อนกลับแบบทันทีทันใด คำอธิบายวิธีการเล่นที่ชัดเจนเข้าใจง่าย คำอธิบายภาพประกอบ กำหนดภาพขั้นตอนการแสดงท่าทางที่ชัดเจน  ลักษณะของตัวแสดงมีความใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมาย 2. ประสิทธิภาพของการ์ดเกมมวยไทย นักเรียนร้อยละ 96.7 (29 คน) ที่มีคะแนนการออกกำลังกายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 (≥21 คะแนน) ร้อยละของคะแนนที่นักเรียนสามารถทำได้มีค่าเฉลี่ยที่ 81.99 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 9.85 ความคลาดเคลื่อนของค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.79 การทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบกับเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 พบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองที่ใช้การ์ดเกมมวยไทยเพื่อการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการออกกำลังกายแบบมวยไทยได้ถูกต้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประสิทธิภาพของการ์ดเกมมวยไทยเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

 

          The  purpose of Muay Thai Game Card development for exercise promotion were to 1. analyze and design Game Card that was suitable for exercising, 2. study efficiency of Muay Thai Game Card in promoting exercise. Samples include 30 upper secondary students of Santiwan School, Nontaburi in 2016. Data collection applied simple random sampling by using lucky drawing. The research instrument were Muay Thai Game Card (15 basic Muay Thai movements and 15 minor martial arts movements) and Muay Thai Game Card efficiency evaluation form. Statistics used for this research include frequency distribution, mean, percentage, standard deviation, and one-sample test for the mean. Efficiency measured by evaluating number of students who successfully perform Muay Thai movements more than 70 percent of all samples.

            Research findings shown that; 1. Key factors were about size of game card, physical factor of general game card, objectives of game card that include simple scoring system, rules and regulations, interaction of players, immediate feedback, simple instruction, clear illustrations and steps of movements. Moreover, characteristics of actors are similar to target samples. 2. About efficiency of Muay Thai game card, 96.7 percent of students (29 persons) shown exercise score of 70 (≥21 points) or more. Mean of all students are 81.99, with standard deviation of 9.85, error of mean 1.79. By comparing mean of samples at 70 percent, mean of samples that used Muay Thai game card for exercise shown score of people who used appropriate Muay Thai movements were more than 70 percent at .05 statistical significance. Efficiency of Muay Thai game card for promoting exercise was considered excellent.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ