การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

โสรัจจ์ แสนคำ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค LT3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล  5  (พหลโยธินรามินทรภักดี)  สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  4) แบบประเมินความพึงพอใจ โดยมีค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย คือ 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2)  ค่าสถิติที (t-test dependent)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75  2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT อยู่ในระดับมาก

 

          The objectives of the research were 1) to develop a set of cooperative learning activities with LT technique to meet the efficiency criteria of 75/75; 2) to compare students’ learning achievement of daily substances in science subject for Prathom VI students with a set of cooperative learning activities with LT technique; and 3) to survey students’ satisfaction toward the learning with a set of cooperative learning activities with LT technique. technique.

          The mean ( ̅x ), standard deviation (S.D.) and t-test dependent were used to analyze the data.

          The samples were 32 Prathom VI students from Municipal school 5 (praholyotinramintarapakdee) Ratchaburi province in the first semester of the academic year 2015 using cluster random sampling  technique which has a classroom as a unit of selection. The research instruments used for this study were: 1) cooperative learning activities with LT technique lesson plans; 2) a set of cooperative learning activities with LT technique; 3) learning achievement test; and 4) students’ opinions questionnaires toward the learning with a set of cooperative learning activities with LT technique. The mean ( ̅x), standard deviation (S.D.) and t-test dependent were used to analyze the data.

           The research findings were as follows: 1) The set of cooperative learning activities with LT technique reached the efficiency which was set as established requirement at 75/75;  2) The learning achievement scores of students that learned with a set of cooperative learning activities with LT technique of daily substances in science subject in post-test were significantly higher than pre-test scores at .05 level; and 3) The opinions of students toward the cooperative learning activities with LT technique were at the high level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ