การสร้างพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการก่อนการปฏิวัติ พ.ศ.2501

Main Article Content

เอกชัย ภูมิระรื่น
นันทพร รอดผล

Abstract

           การสร้างพลเมืองดีของรัฐในแบบที่รัฐต้องการนั้น ด้วยบริบททางการเมืองในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน ระบบการศึกษาที่สอดคล้องจึงมีส่วนสำคัญยิ่งโดยเฉพาะการสร้างมโนทัศน์ จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงปรารถนา โดยที่หนังสือเรียนซึ่งเป็นเสมือนสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐกับพลเมือง ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างข้อความที่ปรากฏในหนังสือเรียน หรือหนังสือที่ผ่านการตรวจคัดกรองจากรัฐ เพื่ออธิบายให้เห็นพลวัตในการสร้างพลเมืองดีของรัฐภายใต้บริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน หากแต่มีจุดร่วมเดียวกันคือเป็นการใช้ระบบการศึกษาในการกำหนดกรอบแนวคิดของพลเมืองให้เป็นไปในแบบที่รัฐต้องการ โดยสุดท้ายจะได้เห็นว่าวิชาสังคมศึกษา (Social Studies) ซึ่งเป็นศัพท์ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่มีขอบข่ายวิชาที่ครอบคลุมถึงแนวทางการสร้างพลเมืองดีได้ทำหน้าที่ในการสร้างเสริมจริยธรรม ศีลธรรม หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อรัฐ ให้กับประชาชนมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน  


           Creating good citizens of the state depends on the political context which aredifferent from each period. Therefore, the education system that is consistent isimportant, in particular, concept creation, ethics, and desired attribute. The givencontent is a wonderful medium of understanding between the state and citizens. Messages which appear in textbooks or content which was investigated by the state are examples of the content. To describe the dynamics of creating good citizens of the state must use the different political context as a rule, and it is common to use the same system of education to define the concept of the citizen to the state requirements. The final version of social studies which get the terminology in the period after World War II is used worldwide, but the scope of a comprehensive approach to creating good citizens serves to promote moral, ethics, and duties towards the state to the public since the reign of the fifth date

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ