รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและ บุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยกับต่างประเทศ ศึกษาเปรียบเทียบการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากับภาคเอกชน เพื่อเสนอรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทาง การศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ จำนวน 5 ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบการศึกษาที่ดี ได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา การเยี่ยมหน่วยงานและสัมภาษณ์เชิงลึกองค์การการศึกษาเอกชนหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพให้แก่บุคลากร จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนเพลินพัฒนา บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และจัดสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อพิจารณา (ร่าง) รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทาง การศึกษาในประเทศไทย จากการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
1. การดำเนินการด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยมีรูปแบบเหมือนกับต่างประเทศ ทั้งการมีหน่วยงานตามกฎหมายที่ดำเนินการโดยภาครัฐเป็นหลักในส่วนที่ระบุตามกฎหมายและในส่วนที่นอกเหนือกฎหมายจะมีหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมกันรับผิดชอบ สิ่งที่แตกต่าง คือ การฝึกอบรม การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพ และการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียค่าใช้จ่ายบางส่วน2. ในภาพรวมประเด็นสวัสดิการของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการ สกสค.) กับภาคเอกชนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่จะค่อนข้างแตกต่างกันในด้านแนวคิด กล่าวคือ ภาคเอกชนจะเน้นที่ตอบสนองความต้องการและมีสวัสดิการที่ค่อนข้างยืดหยุ่น สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่สวัสดิการและสวัสดิภาพของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้ในสภาวะยากลำบาก
3. รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย ควรมีลักษณะยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความหลากหลายของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ในทุกช่วงชีวิตและทุกสภาวการณ์
This research aimed to compare the model between teachers and educational personnel’s welfare and safety of Thailand and other countries.; to compare the diffences between welfare and safety provided by Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel and private organization to suggest the appropriate model for provinding teachers and educational personnel’s welfare and safety in Thailand. This research conducted as qualitative research; using documentary research to study teachers and educational personnel’s welfare and safety of five countries which have been recognized as the country with good education systems such as Singapore, Japan, United Kingdom, Australia and United State of America; using site visit and in-depth interview to collect data from five private schools or private organizations which have been recognized that have best practices in providing welfare and safety such as Mahidol Wittayanusorn School, Plearnpattana School, Central group, Aerothai and Aeronautical Radio of Thailand, and Bumrungrad Hospital; and using focus group discussion to consider the (draft) appropriate model for provinding teachers and educational personnel’s welfare and safety in Thailand with stakeholders. The results were as follow :
1. Teachers and educational personnel’s welfare and safety in Thailand and other countries were similar. Gorvernment provided the welfares under the law and various agencies provided the welfares beyond the law. The differences were training and development for teachers, engaging private company to compete in providing welfare for teacher and teachers had to pay for some of their welfare.
2. The overall of teachers and educational personnel’s welfare and safety provided by Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Educational Personnel and private organization were not too differences. The concepts of private organizations focus on employee's needs, flexible welfares and can be used in reality, while OTEP focuses on difficult circumstances.
3. The appropriate model for provinding teachers and educational personnel’s welfare in Thailand should be flexible and serve the diverse needs of teachers and educational personnel in all lifetime and circumstances.