การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมใช้กับกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ กรณีศึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมนมขนาดเล็ก

Main Article Content

กนกวรรณ กิ่งผดุง
สุจินต์ วุฒิชัยวัฒน์

Abstract

            องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดราคาน้ำนมดิบ ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมนมทุกโรงงานจะมีต้นทุนน้ำนมดิบในอัตรามาตรฐานเดียวกัน การลดค่าใช้จ่ายในการผลิตจะสามารถช่วยให้โรงงานมีความสามารถในการแข่งขันได้สูงยิ่งขึ้น ต้นทุนฐานกิจกรรมจึงเป็นเครื่องมือช่วยให้โรงงานเข้าใจถึงสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการผลิตในแต่ละกิจกรรมการผลิตได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และค้นหากิจกรรมหลักที่มีต้นทุนฐานกิจกรรมสูงที่สุด โดยงานวิจัยนี้ได้เก็บและรวบรวมข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมนมขนาดเล็ก โดยมีคนงาน 45 คน ซึ่งจะผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์รสจืดและนมปรุงแต่งรสชาติและ มีการนำระบบ IDEF0 มาใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยของกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ต้นทุนฐานกิจกรรมจะสะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริงของกิจกรรมการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ทุกชนิด ผลการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตแบบเดิมและต้นทุนการผลิตฐานกิจกรรมของนมพาสเจอร์ไรซ์รสจืดและนมปรุงแต่งรสชาติ จะสรุปได้ว่า นมปรุงแต่งรสชาติมีต้นทุนฐานกิจกรรมสูงกว่านมรสจืด โดยนมรสกาแฟมีต้นทุนสูงขึ้นถึงร้อยละ 4.68 ซึ่งมาจากศูนย์กิจกรรมปรุงแต่งรสชาติ ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมนมขนาดเล็กแห่งนี้ ควรจะค้นหาปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตของกิจกรรมปรุงแต่งรสชาตินี้สูงขึ้น เพื่อที่จะนำไปลดต้นทุนการผลิตนมปรุงแต่งรสชาติให้ลดลงต่อไปได้ในอนาคต


           In Thailand, the price of raw milk is set by Dairy Farming Promotion Organization of Thailand.  Thus, a dairy-products manufacturing companies would have the same raw milk cost. So, reducing the overhead costs could help manufacturing companies with high opportunities in competition. Activity Based Costing (ABC) is a good tool for helping companies to better understand the proportion of overhead costs in each activity of the production processes. The aim of this research was to use ABC in pasteurized milk processing and determined the main activity which produced the highest ABC. The research was conducted in a small dairy-products manufacturing company which has 45 employees, producing pasteurized plain and flavored milk. Integrated Definition for Function Modeling (IDEF0) was used to determine all the sub-activities to better understand the overhead costs of sub-activities in pasteurized milk processing. In the research, ABC will reflect the real costs of main processing activity of all kinds of pasteurized milk. According to ABC analysis, it was found that the ABC of flavored milk was higher than that of plain milk. Coffee flavored milk had the highest ABC which was 4.68% higher than the standard cost. This result suggested that flavored milk, especially coffee flavors, contained activities that costs higher than the company expected. Thus, factors associated with the increase of flavored milk overhead costs need to be investigated in order to reduce the production cost.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ