การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Integrated Model กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศุภชัย เหมือนโพธิ์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ Social Creative Potential Development Integrated Model (SCPD Integrated Model) ลักษณะของวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ประธานกลุ่ม คณะกรรมการ และสมาชิกผู้เข้าร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 10 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2)  กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก 3) กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จำนวน 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) แบบสอบถามการทดสอบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Product Testing) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ T-Test, One-Way Anova และ Simple Regression 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การตรวจสอบสามเส้า (Triangution)

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มจากคนในตำบล โดยเริ่มคิดที่จะทำอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ทางกลุ่มเน้นผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีคุณภาพมาแปรรูป โดยมีแนวคิด นำวัตถุดิบมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในกลุ่ม แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน อีกทั้งมีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประสบความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่ม

             2. ผู้วิจัยนำรูปแบบ Social Creative Potential Development Integrated Model (SCPD Integrated Model) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ โดยการจัดอบรมพัฒนาความรู้ เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Integrated Model และพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จำนวน 1 ชิ้น ได้แก่ ข้าวเกรียบเห็ด 3 อย่าง ผู้วิจัยนำไปทดสอบตลาด จำนวน 400 คน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และใช้ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 และจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีรสชาติอร่อย เหมาะกับการรับประทานเป็นของกินเล่น ราคา เหมาะสมกับปริมาณ และกลุ่มเป้าหมายให้ความเห็นว่า ควรวางขายในร้านสะดวกซื้อ 7-11 เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย และหาซื้อได้ตลอดเวลา อีกทั้งควรทำการส่งเสริมการขายโดยใช้การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) จากการลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

 

          This study aimed 1) to examine the potential of the Community Enterprise at Sanamchan, Nakhon Pathom, and 2) to develop creative products using the SCPD Integrated Model. It was conducted as mixed methods research through quantitative and qualitative data. Its instruments were a structured focus group, a questionnaire on the creative products and a structured interview. 

             Population and sample groups for this research were 1) Leader, committee and members of Community Enterprise at Sanamchan, Nakhon Pathom, 10 people in total through the purposive sampling method, 2) Target groups showing their interest in the products, 400 people in total through convenience sampling method, 3) Target groups showing their interest in the products, 12 people in total through purposive sampling. The research instruments were structured interview, and product testing. The quantitative data such as frequency, percentage, mean and standard deviation was analyzed by 1) T-Test, One-Way Anova and Simple Regression and 2) qualitative data analysis – Triangulation.  

             Its findings revealed as follows:

             1. The Community Enterprise at Sanamchan, Nakhon Pathom was a gathering of people in Sanamchan subdistrict who wanted to do something as their supplementary occupations. The Community Enterprise focused on producing quality products for health; however, they still lacked knowledge and understanding on how to produce the creative products, and found that factors such as active participation of members, appropriate divisions of duties and responsibilities among members and a well-recognized leader to lead the Community Enterprise to success, were required as key success factors.  

           2. The SCPD Integrated Model was applied. Thus the training on how to produce the creative products was held in the community. Then a creative product of mushroom flakes from 3 types of mushroom was produced and tested in the market of 400 people to collect data for further product development. The results showed that the consumers were likely to buy the product at the much level, (=3.95) and the product was also accepted by the consumers at the much level, (=3.82). According to the interview, the product was delicious as a snack with reasonable price and it should be sold in convenience shops like 7-11 where it was more accessible to all consumers and the sale promotion of the product at reduced price should also be done.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ