กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชมรมผู้สูงอายุเมตตาประชารักษ์ ไร่ขิง: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฏีฐานราก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการสร้างทฤษฏีฐานราก มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชมรมผู้สูงอายุเมตตาประชารักษ์ ไร่ขิงและ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมของชมรม และความต้องการของชมรมผู้สูงอายุเมตตาประชารักษ์ ไร่ขิง โดยใช้การเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฏี เก็บข้อมูลจำนวน 8 ราย จากสมาชิกในชมรม และบุคคลภายนอกที่มีผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียในชมรม ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุชมรมเมตตาประชารักษ์ ไร่ขิงมีมีกระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมโดยผ่านกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมดังนี้ 1) การสร้างพื้นที่ทางสังคมด้วยกิจกรรมภายในชมรม 2) การสร้างพื้นที่ทางสังคมด้วยกิจกรรมภายนอกชมรม (2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมของชมรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ปัญหาที่ควบคุมได้ ได้แก่ ความไม่เข้าใจกันในบางครั้งระหว่างสมาชิกในชมรม และปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ การไม่ได้รับงบประมาณในการจัดกิจกรรมของชมรม ในส่วนของความต้องการของชมรม คือ ต้องการเสื้อคลุมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถบอกได้ว่าผู้สวมใส่ คือ จิตอาสา
This qualitative research for creating grounded theory has two purposes: study of the social space construction for the senior citizen club of Metharacharak Raikhing and identification of problems and obstacles for creating activities and requirement of the senior citizen club. The research conducts by the theoretical sampling data from eight persons among members and outsiders who are stakeholders of the senior citizen club. From the research results, the senior citizen club has two activities for creating their social space as follows: organizing activities internally within the club and organizing activities externally. The problems and obstacles for organizing those activities are disagreement among members of the club and insufficient budgets. In addition, the necessity of the senior citizen club are unique jackets for members of the club for carrying social service activities.