การกลายเป็นเมืองของพื้นที่ ‘วงแหวนรอบนอก’ ของกรุงเทพมหานคร: ศึกษา กรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กุลยา วิวิตเสวี

Abstract

           จากการศึกษาพื้นที่ ‘วงแหวนรอบนอก’ ของกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวทางทางภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์เนื้อหา และเลือกจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ส่วนนี้ กิจกรรมนอกภาคเกษตรเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การทำนาในพื้นที่ไม่ได้ลดลง วิถีชีวิตของประชากรในพื้นที่ก็ไม่ได้เป็นแบบชนบทในความหมายดั้งเดิม ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานที่มีการผสมผสานกันอย่างเข้มข้นระหว่างลักษณะแบบเกษตรและนอกภาคเกษตรได้สร้างลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่ ที.จี.แม็กกีตั้งชื่อว่า “ภูมิภาคเดสาโกตา” ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบการพัฒนาเมืองที่มีลักษณะเฉพาะนี้ คือ การตอบสนองของพลังท้องถิ่นที่มีต่อกระแสโลกาภิวัตน์การพัฒนาในพื้นที่นอกจากสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บทบาทของกรุงเทพมหานครในระบบเศรษฐกิจโลกในฐานะเมืองหลวงของประเทศแล้ว ยังทำให้ประชากรท้องถิ่นมีโอกาสจ้างงานนอกภาคเกษตร ในขณะที่รักษาวิถีชีวิตชุมชนของตนต่อไป แต่คุณประโยชน์ดังกล่าวก็มาพร้อมกับปัญหา เนื่องจากปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจากความมีลักษณะเฉพาะของการตั้งถิ่นฐาน ดังนั้น นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคนี้จึงควรดัดแปลงให้เหมาะกับปัญหาดังกล่าว

 

            In studying the ‘outer-ring’ area of  Bangkok Metropolis by using geographic approach and content analysis and choosing Phra Nakorn Si Ayuthaya Province as study area, it has been found that, in this area, nonagricultural activities grow rapidly. But farming does not decrease. Citizen's lifestyle in the area is not rural in conventional sense. This settlement characteristics of mixture of  agricultural and nonagricultural quality resembles a distinct urban area coined “desakota  region” by T.G.McGee. The forces underlying this pattern of development were the local responses to the globalization. The urban developmemt of this type not only strengthens the role of Bangkok Metropolis in the world economy  as the capital city of Thailand  but also offers local people with nonagricultural employments while keeping their community lives. But there are problems accompanying this benefit which are distinct. So, policies and strategies developed for the region should be suitable for these problems.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ