ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1

Main Article Content

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 58 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู รวมทั้งสิ้น 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะของ ตัวแปรใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้อนุมานสถิติเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน   

           ผลการวิจัยพบว่า

               1. ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยเป็นรายด้านดังนี้ การเปลี่ยนความยึดติดของผู้ตาม การประเมินสถานการณ์รอบข้างตลอดเวลา การสื่อสารด้วยความมั่นใจ การใช้อำนาจส่วนบุคคล การใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบ ความกล้าเสี่ยง และความมีวิสัยทัศน์กว้างไกลตามลำดับ

               2. ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยเป็นรายด้านดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพโดยรวม อัตราการออกกลางคันของนักเรียน ความพึงพอใจในการทำงาน และการขาดงานตามลำดับ

               3. ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารในภาพรวมทุกด้านส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนในภาพรวมได้ร้อยละ 81.60 เรียงลำดับตามอิทธิพลของการส่งผลเป็นรายด้านดังนี้ 1) การใช้อำนาจส่วนบุคคล การใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบ และการสื่อสารด้วยความมั่นใจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) การใช้อำนาจส่วนบุคคล การใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบ ความกล้าเสี่ยง และการสื่อสารด้วยความมั่นใจส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน 4) การสื่อสารด้วยความมั่นใจ และการเปลี่ยนความยึดติดของผู้ตามส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนักเรียน และ  5) การใช้อำนาจส่วนบุคคล การสื่อสารด้วยความมั่นใจ และการประเมินสถานการณ์รอบข้างตลอดเวลาส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมตามลำดับ

 

           The objectives of this research were to study 1) school administrator’s charismatic leadership, 2) school’s effectiveness, and 3) school administrator’s charismatic leadership affecting school’s effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 1. The samples were 58 schools under the Secondary Educational Service Area Office 1. The respondents of each school were one school administrator, two deputy school administrators, and two teachers, in total of 290 respondents. The research instrument was a five-level rating scale questionnaire. The descriptive statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation, as well as the inferential statistics was Stepwise Multiple Regression Analysis.

           The research findings revealed as follows:

               1. The school administrator’s charismatic leadership at schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 was at high level, as a whole.  When considering at individual aspect, they were ranked by the descending orders of mean as follows; follower disenchantment, accurate assessment of the situation,  communication of self-confidence, use of personal power, use of unconventional strategies, high personal risk, and extremely vision respectively.

               2. The school’s effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 1 was at high level, as a whole.  When considering at individual aspect, they were ranked by the descending orders of mean as follows; academic achievement, overall quality, job satisfaction, and absenteeism respectively.

               3. The school administrator’s charismatic leadership totally affected the school’s effectiveness at schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 which could predict school’s effectiveness as a whole at 81.60 %.  When considering with influential predictors individually, the findings were ranked by  the descending order as follows; 1) use of personal power, use of unconventional strategies,  and communication of self-confidence affected academic achievement, 2) use of personal power, use of unconventional strategies, high personal risk, and communication of self-confidence affected job satisfaction, 3) communication of self-confidence, high personal risk, follower disenchantment, and accurate assessment of the situation affected absenteeism, 4) communication of self-confidence, and follower disenchantment affected dropout rate, and 5) use of personal power, communication of self-confidence, accurate assessment of the situation affected overall quality respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ