รูปแบบการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ปรียาพร สุบงกช
กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์

Abstract

           กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทในการขับเคลื่อนพลังประชาชนไปสู่เป้าหมายเพื่อทาให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเพชรบุรี 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ 3) หารูปแบบการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จานวน 310 คนและผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ คือคณะกรรมการพัฒนาสตรี จานวน 16 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า

               1. การบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพชรบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการปรับปรุงแก้ไข และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งสูงสุด ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของชุมชน รองลงมา ด้านการพึ่งตนเองของชุมชน ด้านที่มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการตนเองของชุมชน

                2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (r=0.686)

                3. รูปแบบการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดเพชรบุรี พบว่า กลุ่มสตรีควรมีการประชุมโดยการนำเอาข้อมูลของชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน การดำเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน มีการพิจารณาแบ่งงานตามหน้าที่และความถนัดของแต่ละคน ใช้การประสานการทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม ร่วมกับการขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งในและนอกชุมชนเพื่อเป็นเครือข่ายในการทำงาน ทั้งนี้ควรให้คนในชุมชนได้ร่วมกันทบทวนการดำเนินงานตามแผน ให้มีการสรุปความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคที่พบเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสนับสนุนและแก้ไขกิจกรรม และควรปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

 

               The role of Community Development Department, Ministry of Interior, is to mobilize people’s power to achieve the goal of community empowerment and people’s self reliance. The researcher was, thus, interested in doing this research aiming to: 1) study administration of woman group development for Phetchaburi community empowerment, 2) examine the relationship between administration of woman group development and community empowerment, and 3) find out the model for administration of woman group development for community empowerment. The research samples were 310 woman development committees in Phetchaburi Province and 16 key informants consisting of woman development committees. The research tools were a questionnaire and an in-depth interview form. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Correlation Coefficient.

            The research results were as follows:

               1. The administration of woman group development for Phetchaburi community empowerment was overall at a high level. When each aspect was considered, organizing was the aspect with the highest mean, and planning was secondly ranked, whereas improving was the aspect with the lowest mean. And the community empowerment of Phetchaburi Province was overall at a high level. When each aspect was considered, community learning was the most highly empowered, and community self reliance was secondly ranked, whereas community self government was empowered the least.

               2. There was overall positive relationship at a moderate level with statistical significance at the 0.01 level between administration of woman group development and community empowerment (r=0.686).

               3. The model for administration of woman group development for Phetchaburi community empowerment consisted of the following activities: 1) holding the meetings of woman groups by utilizing important information of community in planning work performance to meet the community’s needs, 2) division of work according to each member’s duty and skill, 3) application of co-working coordination within group together with cooperation with internal and external organizations as a working network, 4) allowing people in community to participate in reviewing the planned operation, 5) organizing the session for concluding success and problems found in work performance and using them as a guideline for promoting and improving the next activities, and 6) occasionally improving work performance for better achievement.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ