การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

เด่นดาว ชลวิทย์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์

            ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงทะเบียนและเข้าเรียนวิชาเอกตั้งแต่รหัสนักศึกษา 54-56 จำนวน 2,632 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 รหัสนักศึกษา 54- 56 ที่ลงทะเบียนและเข้าเรียนวิชาเอกจำนวน 400 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยและเกณฑ์การประเมินความสามารถในการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย  จากนั้นจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์  และวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนความเรียงภาษาไทยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

             สรุปผลการวิจัย

             1. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 400 คน มีความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการเขียนในแต่ละประเภทพบว่า นักศึกษามีความสามารถในการเขียนบรรยาย การเขียนพรรณนา การเขียนย่อความและการเขียนประเมินคุณค่างานเขียน อยู่ในระดับปานกลาง

             2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อกำหนดค่าคาดหวังมีค่าเท่ากับ 120 คะแนนมีพิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.58 และเมื่อกำหนดค่าคาดหวังเท่ากับ 96 คะแนน มีพิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.27

 

             3. ความต้องการจำเป็นสูงสุดที่ต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย คือ การเขียนประเมินคุณค่างานเขียน (0.54) (0.23) รองลงมาคือ การเขียนย่อความ (0.52) (0.21) การเขียนพรรณนา (0.47) (0.18) และการเขียนบรรยาย (0.37) (0.10) ตามลำดับ

             4. ความต้องการจำเป็นสูงสุดที่ต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการเขียนความเรียง ภาษาไทยเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของการเขียนได้แก่ องค์ประกอบด้านการใช้ภาษา (0.91) (0.45) รองลงมาคือ ด้านการเรียบเรียงเนื้อหา (0.60) (0.28)   และด้านเนื้อหา (0.60) (0.28) ตามลำดับ

             5. ผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนความเรียงภาษาไทยจากงานเขียนของกลุ่มตัวอย่าง พบข้อผิดพลาด ใน 4 ประเด็น คือ ข้อผิดพลาดในการใช้คำ ข้อผิดพลาดในการใช้ประโยค ข้อผิดพลาดด้านเนื้อหาและข้อผิดพลาดด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน  

 

             The objective of this research was to evaluate the undergraduate Thai majors’ needs for an enhancement of their ability in writing Thai compositions. 

             The population of this study were 2,623 undergraduate Thai majors enrolled in the major courses in the second semester of 2014 academic year, at the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University.  The samples were 400 students having the ID Codes beginning with 54 through 56, drawn from the fore-mentioned population.  The research tools were a Thai Composition Writing Test and a set of writing skills scoring criteria. Analyses of the data were conducted using the Modified Priority Needs Index, and a content analysis.   

             The research findings were as follows:

             1. The findings of the study indicated that the subject group had a moderate level of writing ability.  When each type of writing was considered, it was found that students had a moderate ability in Descriptive Writing, Narrative Writing, Summary Writing, and Evaluative Writing.

             2. The subjects’ needs score was 0.58 when the expectation level was 120, but when the expectation level was lowered to 96, the needs score dropped to 0.27.

             3. The needs for development were in the following descending order: Evaluative Writing (0.54) (0.23); Summary Writing (0.52) (0.21), Descriptive Writing (0.47) (0.18); and Narrative Writing (0.37) (0.10).  

             4. When each component of writing was considered, the level of needs were in the following descending order: Language Use (0.91) (0.45); Organization of Content (0.60) (0.28); and the Content Itself (0.60) (0.28).

             5. The analysis of writing errors revealed that errors were related to the following four elements: Word Use, Sentence, Content, and Mechanics.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ