สถานการณ์และความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ในเขตจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

วีระ เภียบ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว ชาวกัมพูชาในเขตจังหวัดสระแก้ว รวมถึงปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในเขตจังหวัดสระแก้ว และเสนอแนะแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยและกัมพูชาในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงาน ต่างด้าวชาวกัมพูชาให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่เท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method)ประกอบด้วย วิธีการศึกษาจากเอกสาร วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการแจกแบบสอบถามจำนวน 704 คน และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน จากบริษัท 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท เจ.เอส.ฟลาวเวอร์ จำกัด, บริษัทไทย อาร์ตบอร์นแมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด และบริษัท อีสต์บอร์ด อินดัสตรี้ จำกัด

             ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในเขตจังหวัดสระแก้ว มีความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างและค่าครองชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่มีเพศ ระดับการศึกษา สถานประกอบการ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างและค่าครองชีพ โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนแรงงานที่มีอายุแตกต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างและค่าครองชีพ ด้านค่าจ้าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงงานที่ประเภทของงานแตกต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำระหว่างด้านความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในเขตจังหวัดสระแก้ว คือ ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำเมื่อเทียบกับแรงงานคนไทยในทุกๆ ตำแหน่ง สวัสดิการด้านสาธารณูปโภคในบริษัทไม่เพียงพอ สวัสดิการในการรักษาพยาบาลไม่ได้รับด้วยความยุติธรรมจากบริษัท และผู้หญิงชาวกัมพูชาถูกล่อลวงให้ทำงานค้าบริการทางเพศ

             ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานภาครัฐของไทยและกัมพูชาคือ หน่วยงานภาครัฐควรมีมาตรการตรวจสอบและดูแลแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานในโรงงานหรือบริษัทต่างๆ อย่างทั่วถึง เช่น การแก้ไขปัญหาการถูกละเมิดในด้านสิทธิมนุษยชน การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สำหรับลูกจ้างของสถานประกอบการการจ่ายค่าจ้างแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาเป็นไปตามกฎหมายแรงงานไทยกำหนด และแก้ไขปัญหาการคุ้มครองและเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานไทยกำหนด

 

           Purposes of this research were: to study the situation and condition of the life quality of the Cambodian migrant workers in Srakhaew Province (hereinafter refers to as “the migrant workers”), to study the problems in the life quality of the migrant workers, and to recommend the government agencies in Thailand regarding the elevating for the life quality of the migrant workers in the equal level of practices as for Thai workers.
The mixed method which comprised the documentary review, quantitative data collection from 704 questionnaires replied, and in – depth interview with 15 targeted population from 3 sources (J.S Flower Co,Ltd., Thai Artbourne Manufacturing Co,Ltd. , and East Board Industries Co,Ltd.) were considered as the methodology for this research.

           Results of this research revealed these following aspects ; 1) moderate level of the inequality of wages and cost of living of the migrant workers and Thai workers, 2) the migrant workers had the same level of  wages and cost of livings regardless of the difference of their genders, education backgrounds, workplaces, and monthly incomes, meanwhile the difference of their ages caused the inequality in wages, cost of living, and the safety of life, which considered 0.05 regarding the statistic signification, 3) problems of the life quality of the migrant workers were: inequality of wages in comparison to Thai workers in the same position, the quality of basic infrastructures of daily life, the inequality in healthcare  welfare provided by the employers, and the human trafficking in sex trade found in women workers.

           In order to solve the aforementioned problems, this research recommended that Thailand and Cambodia government agencies were expected to;operate the effective investigation in the violation of human rights in the migrant workers, provide the migrant workers the sufficient welfares,wages,  and effective social security in accordance to the Thai Labor Laws.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ