พฤติกรรมการเล่นการพนันและความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทยที่มีต่อ สถานบันเทิงครบวงจร รีสอร์ทคาสิโนในประเทศไทย

Main Article Content

กฤษฎา พรประภา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลกับการเล่นการพนันของประชาชน และศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบ่อนคาสิโน ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility (CSR) ในประเทศไทย โดยสุ่มตัวอย่าง 3 ขั้น คือ 1) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ตามภาคที่มีประชากรสูงสุด 2 จังหวัดแรก 3) ภูมิภาคในเขตเทศบาล และภูมิภาคนอกเขตเทศบาล การกำหนดขนาดตัวอย่างใช้วิธีการของ Taro Yamane และเก็บข้อมูลจำนวน 2,500 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ งานวิจัย และบทความต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

            ผลการศึกษาทางด้านพฤติกรรมการเล่นการพนันของประชาชนในเขตประเทศไทย พบว่า กลุ่มประชาชนในทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ยังคงเล่นการพนันอยู่อย่างสม่ำเสมอ และยังเล่นการพนันในหลากหลายรูปแบบ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลกับการเล่นการพนัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชาชนเพศชายมีการเล่นการพนันมากกว่าเพศหญิง ประชาชนผู้เล่นมีอายุน้อย แต่มีการเล่นการพนันมากขึ้น ด้านรายได้ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีแนวโน้มที่จะเล่นการพนันมากกว่าประชาชนผู้มีรายได้สูง จากข้อมูลนี้ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล หากผู้เล่นการพนันมีช่วงอายุที่น้อยลงและมีรายได้น้อย พฤติกรรมนี้อาจส่งผลกระทบและทำให้เกิดปัญหาต่อสังคมในวงกว้าง เช่น ปัญหายาเสพติด การคอรัปชั่นในหน้าที่การงาน หรือการลักเล็กขโมยน้อย ด้านทัศนคติของประชาชนที่มีต่อรีสอร์ทคาสิโน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชาชนเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจรีสอร์ทคาสิโนถูกกฎหมายในรูปแบบสถานบันเทิงครบวงจรในประเทศไทยในระดับปานกลาง การเปิดรีสอร์ทคาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะทำให้รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลมีรายได้ทางอ้อมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น และสามารถลดจำนวนผู้ไปเล่นการพนันในต่างประเทศลงได้ ในทางกลับกันประชาชนเห็นถึงปัญหาเมื่อมีการประกอบธุรกิจรีสอร์ทคาสิโนถูกกฎหมายในรูปแบบสถานบันเทิงครบวงจร เช่น ปัญหาอาชญากรรมอาจเพิ่มมากขึ้น การเกิดปัญหาการหย่าร้างและการฆ่าตัวตาย และการขัดต่อหลักศาสนาและทำให้ศีลธรรมเสื่อมลง อย่างไรก็ดีปัญหาดังกล่าวในปัจจุบันยังมิได้เกิดขึ้นอย่างเป็นแบบแผน แต่อาจจะเกิดเป็นบางกรณีซึ่งมีลักษณะมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป


           This research aims to study 1) the relationship between personal attributes and gambling behavior of the Thai 2) and the attitude of Thai people towards casino in terms of Corporate Social Responsibility. The research uses three-stage stratified sampling. First, the samples are aplited from Bangkok Metropolitan Area and its rural area. Seemed the samples, are categorized from regions and select the first two most populated provinces. Third, the samples are divided from municipality and ex-municipality. Taro Yamane’s sampling method at 95 percent confident interval is used to calculate sampling quantity. This research acquires 2,500 samples and the interview, printing documents, research papers and articles as data inputs.

             This research finds that Thai regularly gambles in every education level, occupation, and game. According to personal attributes, this research finds that male gambles more than female. Thai, who gambles, trends to be younger and play more. With regard to personal income, this research finds that the poor gambles more than the rich.  Regarding to findings, researcher is worried that the younger and the poor gamblers may cause social problems i.e. narcotics, corruption, and stealing.  In terms of Thai attitudes, this research finds that Thais agree to casino legalization in entertainment complex with medium score. Casino legalization increases tax and tourism incomes, creates jobs, increases peripheral economic revenues and reduces the numbers of Thai gamblers---flying to gambling abroad. On the contrary, Thai foresees some problems i.e. increased crimes, divorced problems, homicide, religious rejection, and spiritual deterioration. However, these problems are not occurred yet and may occur depending on different inputs.


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ