การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิด

Main Article Content

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์

Abstract

          การคิดเป็นความสามารถสำคัญที่บุคคลต้องใช้ในการเรียนรู้ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีธรรมชาติส่งเสริมการพัฒนาการคิดของผู้เรียน แต่เด็กไทยยังคงมีปัญหาด้านการคิดเป็นการสะท้อนถึงปัญหาสมรรถนะการสอนเพื่อพัฒนาการคิดของครูวิทยาศาสตร์ ที่สามารถแก้ไขได้โดยการจัดการอบรมเผยแพร่ความรู้ให้กับครูเกี่ยวกับการคิดและการให้แนวทางในการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียน  ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับการคิด  ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมิติการคิดเมื่อมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำมาสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดซึ่งทำได้ 2 แนวทาง  คือการแทรกกิจกรรมการคิดลงในแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนความรู้แบบปกติ และการสร้างชุดฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะ  แนวคิดดังกล่าวนำมาจัดเป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  ที่จะได้ผลดีขึ้นเมื่อมีระบบการนิเทศติดตามผลและให้ความช่วยเหลือกับ ครูผู้เข้ารับการอบรมด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มีการวิจัยและให้ผลที่สนับสนุนสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว

 

          Thinking is an importance ability that person need to employ for learning, decision making, and problem solving in living.  Science is a subject that its’ nature supports developing thinking ability of students.  Nevertheless, Thai students still have problem about thinking.  This reflects the problem about teaching competency for developing thinking ability of teachers.  The problem can be resolved by training for distribution of knowledge about thinking ability and providing guidelines for learning activities management for developing thinking ability of the students.  In part of knowledge about thinking ability, which is knowledge about thinking dimension.  After understanding the knowledge, this can be used to create learning activities which support thinking ability in 2 ways, which are insertion of thinking activities into conventional learning management plans for teaching knowledge and development of training package for developing thinking ability of the students especially.  Concepts mentioned above were employed for organization of workshop training project which would be better with post-training supervisory follow-up and helping the teachers who participated the workshop.  These were suggested and supported by research results.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ