ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปานวาด อวยพร
ศยามน อินสะอาด
สุพจน์ อิงอาจ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อเปรียบเทียบคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยอินโฟกราฟิกกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  โครงการ English Program ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 30 คน

ผลการวิจัยมีดังนี้

               1.  อินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดี (x̄= 4.48, SD = 0.50)

                2. การเปรียบเทียบด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วย
อินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II  พบว่าความคิดสร้างสรรค์โดยรวมของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

             In this experimental research investigation, the researcher develops (1) infographic and cooperative learning using the Jigsaw II technique for enhancing the creativity of selected Matthayom Sueksa Three students in the social studies, religion, and culture learning strand.  The researcher also compares (2) the creativity of these students instructed through the infographic and cooperative learning utilizing the Jigsaw II technique.

            The sample population consisted of Matthayom Sueksa Three students at Nawaminthrachinuthit Triamudomsuksanomklao School enrolled in the first semester of the academic year 2016 in the English Program.  Using the method of simple random sampling through drawing lots, the researcher selected thirty students constituting a single classroom.

             Findings are as follows:

                 1. Infographic and cooperative learning using the Jigsaw II technique developed by the researcher showed quality at a good level (x̄ = 4.48, SD = 0.50).

                 2. In comparing the creativity of the students, it was found that the overall creativity of these students after the completion of the study was at a higher level than prior to its commencement at the statistically significant level of .05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ