ผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู : กรณีศึกษาสถานศึกษา มัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

พรสุดา ฮวบอินทร์
ปริญญา มีสุข

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับของผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 227 คน ได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป G*power ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 66 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน และ3) ผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี เรียงตามลำดับ ได้แก่ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21(X3) การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง(X2) การฝึกอบรมในงาน(X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 78.10  เขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z’y = 0.150X1  + 0.352X2  + 0.433X3    


          The purposes of this research was to study 1) level of effective teacher development by using the Process of The Coaching and Mentoring System within secondary schools in Pathumthani, 2) the level of school effectiveness within secondary schools in Pathumthani and 3) the effect of teacher development by using the Process of The Coaching and Mentoring System affecting school effectiveness within secondary schools in Pathumthani. Samples were taken from 227 teachers of The Secondary Educational Service Area Office 4, computed with G*Power 3.1.9.2 by stratified random sampling. Research instrument was a 5-Likert’s scale questionnaire (59 items). Data was analyzed by mean, standard deviation and multiple regression analysis.

           Research results were as follows 1) level of effect of teacher development by using the Process of The Coaching and Mentoring, as a whole or as an individual aspect, was high, 2) the effectiveness of secondary schools level, as a whole or as an individual aspect, was also high, and 3) the effect of teacher development by using the Process of The Coaching and Mentoring system affecting school effectiveness within secondary schools in Pathumthani were 21st century skills (X3) coaching and mentoring (X2) on the job training (X1) respectively. These findings also revealed that the effectiveness of secondary schools in Pathumthani were at 78.10 percent. The standard score regression equation was  Z’y = 0.150X1  + 0.352X2  + 0.433X3


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ