การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

เพ็ญพนอ พ่วงแพ
ศศิพัชร จำปา
เอกชัย ภูมิระรื่น
วสวัตติ์ วงศ์พันธุเศรษฐ์
นันทพร รอดผล

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลในรูปแบบซิป (CIPP model) ของสตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาสังคมศึกษา ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาสังคมศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่มที่เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรศึกษาศาสตร สาขาวิชาสังคมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย  ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)    

            ผลการวิจัย  พบว่า        

             1. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) พบว่า สภาวะแวดล้อมในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร แผนการดำเนินงานของภาควิชามีความเหมาะสม สาขาวิชามีจุดแข็ง คือ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถของคณาจารย์มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และจุดอ่อน คือ การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก และบุคลากรสายสนับสนุน   มีจำนวนน้อย

             2.ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้เรียนคุณสมบัติอาจารย์ที่สอน / อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และงบประมาณในการผลิตบัณฑิต

               3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การจัดการเรียนการสอน และการให้บริการและการสนับสนุน

               4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผลผลิตในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งคุณลักษณะของนักศึกษา ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

 

         The purpose of this research aims to evaluate Bachelor of Education program in Social Studies. This research was evaluated by using the CIPP model based on Stufflebeam's decision - making approach. The respondents were lectures and students in Social Studies programs, expert in Social Studies, administrators of Faculty of Education and participants. The instruments used to collect data were interviews and questionnaires. The data were analyzed by descriptive statistics, percentage (%) mean ( ), standard deviation (S.D.), and content analysis. The results included the following

             1. Context: the context in general was appropriate at the high level. When each item was considered, it was found that all dimension was appropriate at the high level for example an objects of curriculum, structure and subject matter of curriculum and action plan of curriculum and instruction Deportment. Highly experienced  and expert lecturers were  the strength of the section. But weakness was cooperative education between internal and external sectors and a few of supporters.

              2. Input: the input was generally appropriate at the high level. When each item was considered, it was found that all dimension was appropriate at the high to the highest level. For example qualifications of students ,properties of lectures/ academic adviser, physical environment, material and facilities, and budget for educational management.          

           3.Process: the process in general was appropriate at the high level. When each item was considered, it was found that their satisfaction with all of the items at the high to the highest level. for instance an instructional behaviour of lectures, leaning behaviour of students, the pre-service students teaching practicum experience, leaning management and facilities service.

 

               4. Product: The product in general was highly appropriate. When each item was considered, it was found that their satisfaction with all of the item at the high to the highest level. such as qualification of students, learning outcome, and satisfaction of user in pre-service students. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ