การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อประสบการณ์การสอนดนตรี ของนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ภัทรภร ผลิตากุล

Abstract

           การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลให้โครงสร้างทางเชาวน์ปัญญาเปลี่ยนแปลง ยิ่งมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากเท่าไร ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์มากเท่านั้น นอกจากนี้ การเรียนรู้ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง เนื่องจากสมองเรียนรู้ได้ดีผ่านการกระทำและเรียนรู้จากประสบการณ์

             การเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานมุ่งให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในหัวข้อที่ตนสนใจโดยการลงมือทำและเก็บเกี่ยวข้อมูลผ่านประสบการณ์  ครูมีหน้าที่เป็นผู้คอยสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานมี 5 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาแนวคิดในการทำโครงการ 2) การวางแผนโครงการ 3) การดำเนินโครงการ 4) การประเมินโครงการ และ 5) การเผยแพร่โครงการ

             หลังจากนำแนวคิดโครงการเป็นฐานจัดการเรียนรู้ในวิชากลวิธีการสอนดนตรี ข้อค้นพบมี 5 ด้าน คือ 1) ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประสบการณ์การสอนดนตรี การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการเสนองานวิชาการ 2) ครูควรศึกษาการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานอย่างลึกซึ้งก่อนนำไปใช้ ทำวิจัยนำร่อง และวิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ครูต้องใจกว้างและให้คำปรึกษาผู้เรียนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3) ผู้เรียนอาจวิตกกังวลในขั้นตอนแรกเนื่องจากไม่มีแนวคิดในการทำโครงการ หลังจากดำเนินโครงการสักระยะหนึ่ง ผู้เรียนเริ่มเห็นเป้าหมายของโครงการ ส่งผลให้เกิดความกระตือรือร้นและความร่วมมือกันเป็นกลุ่ม 4)  ในการดำเนินโครงการ นักศึกษาสามารถใช้เนื้อหาจากวิชาต่างๆมาบูรณาการในโครงการ  ครูควรพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโครงการ  เนื้อหารายวิชา และ เป้าหมายของหลักสูตร และ 5) การจัดการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับกระบวนการทำวิจัยซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง

 

           Human learning occurs as a result of environmental reaction that changes cognitive structure. The more human reacts with environment, the more he learns through experiences. Besides, learning relates to the working of human’s brain. Brain effectively learns through doing and experiential learning.

           Project-based learning (PBL) emphasizes that students are able to construct their own knowledge under the topics they are interested in. They engage practicing and collecting data from experiences. Teachers, as facilitators, should provide the 5 steps of PBL as follows: 1) project’s concept inquiring, 2) project planning, 3) project operating, 4) project evaluating, and 5) project disseminating.

            After applying PBL for students in music pedagogy class, there are 5 findings: 1) The steps of PBL foster students to experience music teaching, group working, and academic presenting. 2) Teachers should deeply study PBL before using. This includes conducting pilot study and analyzing individual student’s learning style. Additionally, teachers should be open-minded and advise practical suggestions. 3) Students may be worried at the first step of PBL because of no idea for project. After continuing project for a while, students can predict the setting goal leading to enthusiasm and collaborated group. 4) To do project, students are able to integrate the content from different courses into a project. Teachers, however, should consider the relationship among the project, the content of courses, and curriculum’s goal, and 5) PBL’s instructional management relates to research approach supporting higher order thinking skills.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ