การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต

Main Article Content

รุจิเรข ฉอยทิม
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต 2) เปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 50 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) แบบวัดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) 

             ผลการวิจัยพบว่า

               1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               2. การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

          The purposes of this research were to: 1) compare the learning achievement on natural resources and environmental crisis of the twelfth grade students before and after the participation in the learning management on future problem solving. 2) compare the creative problem solving of the twelfth grade students on natural resources and environmental crisis before and after the participation in the learning management on future problem solving and 3) study the opinion of the twelfth grade students toward the participation in the learning management on future problem solving. The sample of this research were the twelfth grade students studying in class 2 during the first semester of the academic year 2016 at Bangpakokwitthayakom School, Ratburana District, Bangkok of the Secondary Educational Service Area Office1, using Simple Random Sampling

             The instruments were: 1) lesson plan on natural resources and environmental crisis  2) learning achievement test on natural resources and environmental crisis 3) creative problem solving test on natural resources and environmental crisis and  4) a questionnaire on the opinion of student towards the participation in the learning management on future problem solving. The collected data was analyzed by mean (), standard deviation (S.D.), t- test for dependent.

               The results found that:

               1.  The learning achievement of the twelfth grade students on natural resources and environmental crisis after the participation in the learning achievement on future problem solving were higher than the learning achievement gained before the participation learning at the level of .05 significance.

                2.  The creative problem solving of the twelfth grade students on natural resources environmental crisis after the participation in the learning management on future problem solving were higher than before the participation learning at the level of .05 significance.

               3.  The opinions of the twelfth grade students towards participation in the learning management on future problem solving were at the hight level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ