คนผิดปกติและคนปกติ:การอุปมาของภาพลักษณ์สองสิ่งนี้ในวรรณกรรม ค้นหารากเหง้าจีน

Main Article Content

อมรรัตน์ เนตรธัญญกรวงศ์

Abstract

          การปฏิวัติวัฒนธรรมได้สร้างความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ให้กับสังคมจีน หลังการปฏิวัติสิ้นสุดลง ราวทศวรรษที่80 ของศตวรรษที่20 จีนได้เริ่มการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัยครั้งยิ่งใหญ่ วงการวรรณกรรมปรากฏกระแสแนวความคิดมากมาย วรรณกรรมค้นหารากเหง้าเป็นหนึ่งกระแสที่สำคัญ ในตอนนั้นด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมได้จำกัดความเจริญของสังคม อีกด้านหนึ่งความเจริญของสังคมก็ได้ทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมที่งดงามเช่นกัน ในกลุ่มผลงานวรรณกรรมค้นหารากเหง้า บางผลงานได้ใช้การเขียนแนวสัจนิยม บางผลงานได้ใช้การเขียนแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ ในนิยามของคำว่า “ราก” แฝงด้วยการแสวงหาความทันสมัย ในการพยายามฟื้นฟูและสร้างวัฒนธรรมชนชาติจีนขึ้นใหม่ ได้ดำเนินการคิดทบทวนและวิจารณ์ความเป็นทันสมัยและวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยเฉพาะในผลงานเหล่านี้ เราสามารถพบเห็นภาพลักษณ์ของ “คนผิดปกติ” และ “คนปกติ” จำนวนมาก สองสิ่งนี้เป็นตัวแทนด้านลบและด้านบวกของวัฒนธรรมดั้งเดิม บทความนี้ได้วิเคราะห์ภาพลักษณ์สองชนิดนี้ อธิบายความหมายเชิงการอุปมาเปรียบเทียบที่แฝงอยู่ในภาพลักษณ์เหล่านี้ 

 

          After the ending of the culture revolution which has bring huge damage to China’s society, on the 80’s of the 20th century,China has began a mammoth practice to modernise the country,and a lot of literary trends emerges, the Root-seeking literature is a very important one of these trends. At that time,the developing of society was fettered by traditions and on the other hand it also damage or even eradicate the good traditions. These Root-seeking literature works,using realism or postmodernism,on the slogan of“Root-seeking" to pursue modernity,and rethinking and criticizing both modernity and traditional cultures. In these works we can found especially a lot figures of “Abnormal persons”and “Normal persons”, they represent the two sides of traditional cultures,our article will analyse this two kinds of figures and illustrates the cultural connotation of their metaphor.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ