ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงาน ความเหนื่อยล้าในงานและความตั้งใจลาออกจากงาน

Main Article Content

ไวพจน์ กุลาชัย
ปฏิพล หอมยามเย็น
เทวุษย์ บริรักษ์สันติกุล

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในงาน ความเหนื่อยล้าในงานและความตั้งใจลาออกจากงาน  กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยจำนวน 350 นาย ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับวัดตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความเครียดในงาน ความเหนื่อยล้าในงานและความตั้งใจลาออกจากงาน และทำการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS ผลการศึกษาพบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ (c2) มีค่าเท่ากับ 32.920 ที่ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 24 (p > .05) ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.372 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .981 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .997 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ .033  เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ พบว่า ความเครียดในงานมีอิทธิพลในทางบวกต่อความเหนื่อยล้าในงานและความตั้งใจลาออกจากงาน อย่างไรก็ตาม ความเหนื่อยล้าในงานกลับมีอิทธิพลในเชิงลบต่อความตั้งใจลาออกจากงาน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายองค์ความรู้ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานต่อไป

 

           The main objective of this research was to examine linkage between job stress, job burnout and turnover intention. The samples of this study were 350 police officers in the eastern region of Thailand derived by simple random sampling. Likert-type questionnaires were employed to collect the data. The gathered data was analyzed by structural equation modeling (SEM) technique using AMOS. The developed model was fit with the empirical data with chi-square (c2) of 32.920, degree of freedom (df) = 24 (p > .05), normed chi-squared = 1.372 goodness of fit index (GFI) = .981, Comparative fit index (CFI) = .997, and the root mean square error of approximation (RMSEA) = .033. Findings showed that job stress had positive impact on job burnout and turnover intention. However, job burnout had negative impact on turnover intention. The study notes several theoretical and practical implications of the findings that may extend our knowledge of antecedents of turnover intention.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ